สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 36 คน
 สถิติเมื่อวาน 212 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
6479 คน
21562 คน
2733090 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


เรื่องซ่อมหลังคาคอนโด (ถ้าต้องการข้อมูลเดิม อยู่ข้อ 990 ค่ะ)
เดิมคอนโดห้องชุดนี้เป็นของพี่สาว แล้วต่อมาน้องสาวคือดิฉันมาขอร่วมหุ้น เพื่อทำเป็นที่พักให้เพื่อนๆกันเองมาพัก และได้มีการโอนกรรมสิทธิ์เปลี่ยนชื่อเจ้าของในหนังสือกรรมสิทธ์ห้องชุด โดยพี่สาว จดทะเบียนขาย ให้กับน้องสาว ชื่อผู้รับโอนกรรมสิทธิ์จึงมีแต่ชื่อน้องสาว (แต่นามสกุลเดียวกัน) เหตุผลว่าทำไมร่วมหุ้นแล้วไม่ลงสองชื่อ เพราะ น้องสาวได้คุยแต่ต้นว่า ขอแค่ร่วมหุ้นไปก่อน ถ้ามีตังค์พร้อม จึงจะซื้อขาดไปคนเดียวเรย พี่สาวจึงแนะว่า เพื่อไม่ต้องเสียค่าโอนหลายที ก็ใส่เป็นชื่อน้องสาวไปคนเดียวเรย พร้อมเมื่อไหร่ก็ค่อยมาซื้อหุ้นส่วนที่เหลือไปเพื่อถือครองคนเดียว (เป็นพี่น้องกันแท้ๆ รู้นิสัยกัน จึงไม่กลัวโกงกันค่ะ)

ดิฉัน ทราบเรื่องหลังคารั่ว ฝ้าเป็นคราบเหลืองวันที่ 16 ต.ค. โทรแจ้ง ผจก.นิติฯ วันที่ 19 ต.ค.แต่ขึ้นไปดูหน้างานพร้อมเจ้าหน้าที่ของนิติฯเมื่อ 7 พ.ย.พร้อมโทรแจ้ง ผจก.นิติในวันที่ 7 อีกครั้งตอนอยู่หน้างานพร้อมเจ้าหน้าที่นิติฯ และแจ้งซ่อมเป็นลายลักษณ์อักษรทางอีเมลล์วันที่ 14 พ.ย. แต่โอนกรรมสิทธิ์วันที่ 28 ต.ค. ก่อนโอนกรรมสิทธิ์ ดิฉันได้ฝากเงินจ่ายค่าส่วนกลางปี 56 ให้กับพี่สาวไปโอนเข้าบัญชีให้กับทางนิติฯ เพื่อขอใบรับรองปลอดหนี้จะได้โอนกรรมสิทธิ์ได้ ชื่อผู้นำฝากในใบpay-in จึงเป็นชื่อพี่สาว ไม่ใช่ชื่อดิฉัน โดย ทำการโอนเข้าบัญชีบริษัทนิติบุคคลอาคารชุด ตั้งแต่วันที่ 8 ก.ย.56 โดยก่อนหน้านี้ ดิฉันเคยถาม เจ้าหน้าที่นิติฯ (ไม่ใช่ผจก.นิติ) ว่า ค่าส่วนกลางจ่ายให้ทั้งปีเรยก็ได้ แต่เดือนที่เหลือที่พี่สาวไม่ได้ใช้ ยกค่าส่วนกลางที่จ่ายไปแล้วให้น้องสาวต่อได้มัีย คือน้องสาวไม่ต้องจ่ายค่าส่วนกลางซ้ำของสามเดือนหลัง ซึ่งเจ้าหน้าที่ก็บอกว่าได้ ดิฉันก็เรยจ่ายไป อยากทราบว่า
1. นิติบุคคล จะอ้างเรื่อง มีการโอนกรรมสิทธิ์กัน เปลี่ยนมือเจ้าของห้องชุด โดยผู้ที่จ่ายค่าส่วนกลาง เป็นเจ้าของห้องเดิมคือพี่สาว (ชื่อผู้นำฝากเป็นพี่สาว) ไม่ใช่น้องคือดิฉัน แล้วปฏิเสธการซ่อมหลังคาและฝ้าให้ดิฉัน ได้หรือไม่

2. ถ้าดิฉันและพี่สาวร่วมกันชี้แจ้งว่า ดิฉันมีส่วนร่วมในการจ่ายค่าส่วนกลางด้วย โดยฝากเงินส่วนหนึ่งให้พี่สาวไปเข้าบัญชีให้จะได้หรือไม่ และจิงๆแล้ว พี่สาวของดิฉันก็ยังมีหุ้นอยู่ เพียงแต่ชื่อเจ้าของเปลี่ยนเป็นชื่อดิฉันแล้วเท่านั้น เพื่อความสะดวกต่อการจัดการหลายๆเรื่อง เพราะพี่สาวไม่ค่อยว่าง จะมีผลให้นิติฯต้องซ่อมหลังคาให้ดิฉัน ได้หรือไม่ ตอนนี้ ชื่อในสำเนาทะเบียนบ้านคอนโด (ชื่อบ้าน ตรงหน้า 1 เป็นชื่อดิฉัน แล้ววงเล็บว่าผู้ซื้อ แต่ดิฉันยังไม่ได้ย้ายชื่อดิฉันเข้าทะเบียนบ้านคอนโด เพราะชื่อดิฉันอยู้่ที่ทะเบียนบ้านกทม.) และ ชื่อในหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุดเป็นชื่อดิฉัน แต่ชื่อผู้ใช้ไฟฟ้ายังเป็นชื่อพี่สาวอยู่ ไม่ได้เปลี่ยน

3. ถ้าเค้าเอาเรื่องโอนกรรมสิทธิ์เปลี่ยนมือมาอ้างและเรื่องคนจ่ายค่าส่วนกลางคือเจ้าของเดิม (กรณียึดตามหลักฐานที่เห็น) ดิฉันต้องรอต้นปีหน้าแล้วจ่ายค่าส่วนกลางเป็นชื่อดิฉัน แล้วบังคับให้นิติซ่อมได้หรือไม่ อยู่ดีๆเค้าจะเรียกเก็บค่าซ่อมหลังคาต่างหากจากดิฉัน บวกค่าส่วนกลางปี 57 ได้หรือไม่

4. เรื่องสำเนาทะเบียนบ้าน ตอนที่พี่สาวดิฉันซื้อเป็นคนแรกตั้งแต่ ก.ค.52 ผจก.นิติฯ หรือ ผจก.ขายโครงการคือคนๆเดียวกัน ไม่เคยให้เล่มทะเบียนบ้านคอนโดกับพี่สาวดิฉันเรยค่ะ หลังโอนกรรมสิทธิ์ ดิฉันเรยไปแจ้งที่สนง.เขต ว่าพี่สาวบอกไม่เคยได้รับ ทางเจ้าหน้าที่เรยทำเล่มใหม่ให้ดิฉัน และแทงว่า แทนฉบับเดิมที่สูญหาย ดิฉันเห็นชื่อบ้านอันเดิมที่ถูกขีดฆ่าด้วยหมึกแดงแล้วใสชื่อดิฉันแทน คือชื่อของบริษัทนิติบุคคลอาคารชุด ซึ่งเป็นชื่อบริษัทเดียวกันกับเจ้าของโครงการค่ะ แสดงว่าหลังพี่สาวรับ
โอนกรรมสิทธิ์ ตั้งแต่ปี 52 ไม่เคยมีการเปลี่ยนชื่อในเล่นสำเนาทะเบียนบ้านด้วยซ้ำ ดิฉันอยากทราบว่า
3.1 บริษัท นิติบุคคล หรือ บริษัทเจ้าของโครงการ (ผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคารตามมาตร 6) ซึ่งเป็นบริษัทเดียวกัน จะได้ผลประโยชน์ หรือหาผลประโยชน์จากการไม่เปลี่ยนชื่อเจ้าของห้องชุด และไม่ให้เล่มทะเบียนกับเจ้าของ จากทางไหนได้บ้าง
3.2 นิติบุคคล หรือ บริษัทเจ้าของโครงการ มีความผิดหรือไม่ มีโทษอย่างไร ร้องเรียนที่ใด ข้อหาอะไร ถือว่า มีการประพฤติส่อไปในทางมิชอบได้หรือไม่


โดย Primy Primy (ip1.20.0.138) อี-เมล์ Primy Primy (ip1.20.0.138) เบอร์โทรศัพท์. Primy Primy IP: xxx [ 2013-12-10 ]

คำตอบจาก Webmaster

1.  โอนเงินให้นิติฯ 8 ก.ย. ในขณะที่โอนเงินเข้าไปคอนโดเป็นชื่อของพี่สาว เมื่อโอนกรรมสิทธิ์เป็นชื่อของคุณในวันที่ 28 ตุลาคม คุณแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรทางอีเมล์เมื่อวันที่ 14 พ.ย. การแจ้งของคุณเป็นการแจ้งในฐานะเจ้าของร่วม นิติบุคคลฯ จะต้องซ่อมแซมหลังคาคอนโด ซึ่งเป็นทรัพย์ส่วนกลาง


2. เมื่อชื่อในโฉนดห้องชุด (หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ห้องชุด) ตามกฎหมายถือว่า คุณมีกรรมสิทธิ์ในห้องชุดแต่เพียงผู้เดียว ส่วนการจะร่วมหุ้นกับพี่สาวอย่างไรนั้นเป็นเรื่องภายใน ไม่มีผลผูกพันบุคคลภายนอก แม้ในทะเบียนบ้านคอนโดจะไม่มีชื่อคุณอยู่ในทะเบียนบ้าน ก็ไม่ได้หมายความว่า คุณไม่ใช่เป็นเจ้าของห้องชุดตามกฎหมาย สำหรับชื่อในบิลค่าไฟฟ้าเป็นชื่อพี่สาวก็เช่นกัน


3. นิติฯ ไม่มีสิทธิจะอ้าง เพราะในขณะที่คุณแจ้งให้ซ่อมทางอีเมลล์นั้น คุณจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดจากพี่สาวแล้ว จึงอยู่ในฐานะเจ้าของร่วม ย่อมมีสิทธิที่จะแจ้งให้นิติฯ ทำการแก้ไขซ่อมแศมได้


4. ปกติ เมื่อเจ้าของโครงการจะจดทะเบียนอาคารชุด จะต้องยื่นขอเลขที่ห้องชุด เจ้าหน้าที่ก็จะให้เลขหมายสำคัญประจำบ้าน (เลขที่บ้าน) และมอบสมุดทะเบียนบ้านให้แก่บริษัทฯ เจ้าของโครงการ ซึ่งชื่อในสมุดทะเบียนบ้านก็จะเป็นชื่อของบริษัทเจ้าของโครงการ ซึ่งปกติเจ้าของโครงการจะส่งมอบสมุดทะเบียนบ้านให้กับผู้ซื้อในวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด  หากผู้ซื้อประสงค์จะแจ้งย้ายเข้า ก็นำสัญญาซื้อขายห้องชุดกับเอกสารการแจ้งย้ายออกจากทะเบียนบ้านเดิม ไปแจ้งย้ายเข้า บริษัทเจ้าของโครงการจึงไม่ได้ประโยชน์อะไร ส่วนการไม่ส่งมอบเล่มทะเบียนบ้านนั้น อาจจะเกิดจากความผิดพลาดของพนักงานของบริษัทฯ ถ้าจะผิดก็ผิดตรงที่ไม่ส่งมอบสมุดทะเบียนบ้านให้ลูกบ้าน ไม่ถือว่า มีการประพฤติส่อไปในทางที่มิชอบ เพราะบริษัทถือไว้เองก็ไม่ได้ประโยชน์อะไร หากจะร้องเรียนก็คงจะต้องร้องเรียนที่ สคบ. เพราะในขณะนี้ทางราชการยังไม่มีหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านอาคารชุดโดยตรง

โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล [ 2013-12-12 ] ตอบ 1036
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.