สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 34 คน
 สถิติเมื่อวาน 58 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
3883 คน
25599 คน
2737127 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


หักเบี้ยปรับล่าช้า ก่อนหักค่าส่วนกลางได้ไหม
เจ้าของห้องชุดชำระค่าส่วนกลางเกินกำหนดเวลาในใบแจ้งหนี้. เมื่อมาชำระนิติฯจะหักชำระเงินเพิ่มก่อน แล้วจึงหักชำระค่าส่วนกลางได้ไหม มีกฎหมายใดรองรับบ้าง เพราะกฎหมายอาคารชุดมาตรา 18 กำหนดเพียงอัตราเบี้ยปรับเกินกำหนด (แต่ไม่มีวิธีการเก็บ) และจะทำให้มีคนชำระไม่ตรงเวลาเพิ่มขึ้น กรุณาอธิบายให้ทราบด้วยครับ
โดย ศีวา (ip171.100.118.34) อี-เมล์ ศีวา (ip171.100.118.34) เบอร์โทรศัพท์. ศีวา IP: xxx [ 2014-06-22 ]

คำตอบจาก Webmaster
มาตรา 18/1 ในกรณีที่เจ้าของร่วมไม่ชำระเงินตามมาตรา 18 ภายในเวลาที่กำหนดต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 12 ต่อปีของจำนวนเงินที่ค้างชำระโดยไม่คิดทบต้น ทั้งนี้ตามที่กำหนดในข้อบังคับ

เจ้าของร่วมที่ค้างชำระเงินตามมาตรา 18 ตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไปต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราไม่เกินร้อยละ 20 ต่อปีของจำนวนเงินที่ค้างชำระโดยไม่คิดทบต้น ทั้งนี้ตามที่กำหนดในข้อบังคับ

เงินเพิ่มตามวรรคหนึ่ง ให้ถือเป็นค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18

จะเห็นได้ว่า ในกรณีที่เจ้าของร่วมชำระเงินค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 ล่าช้าเกินจากกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในข้อบังคับ นิติบุคคลอาคารชุดมีสิทธิตามกฎหมายที่จะเรียกเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 12 ต่อปี แต่หากค้างชำระตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไปต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราไม่เกินร้อยละ 20 ต่อปี ดังนี้ เงินเพิ่มก็คือ ดอกเบี้ยนั่นเอง เพียงแต่กฎหมายอาคารชุดไม่ได้ใช้คำว่าดอกเบี้ย เพราะหากใช้คำว่าดอกเบี้ย เพราะหากค้างชำระเกิน 6 เดือน นิติบุคคลอาคารชุดมีสิทธิเรียกเก็บในอัตราไม่เกินร้อยละ 20 ต่อปี ซึ่งตามกฎหมาย (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์) กำหนดให้เรียกดอกเบี้ยเงินกู้ยืมในอัตราสูงสุดไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี ซึ่งหากใช้คำว่าดอกเบี้ยในกฎหมายอาคารชุดอาจจะทำให้สับสน ดังนั้น กฎหมายอาคารชุดจึงใช้คำวา "เงินเพิ่ม" แทน เหมือนกับชำระภาษีล่าช้าตามประมวลรัษฎรกร ก็จะใช้คำว่า "เงินเพิ่ม" เช่นเดียวกัน เมื่อธรรมชาติของเงินเพิ่มก็คือ ดอกเบี้ย ในการจัดสรรชำระหนี้นั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติให้จัดสรรเงินที่ได้่ีรับจากลูกหนี้มาชำระดอกเบี้ย ซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์ก่อน เมื่อเงินเหลือจึงนำไปชำระหนี้ประธาน (หนี้ค่าส่วนกลาง) ซึ่งแม้กฎหมายอาคารชุดจะไม่ได้บัญญัติวิธีการเรียกเก็บไว้ แต่ก็สามารถนำหลักกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการชำระหนี้มาใช้บังคับได้ในฐานะที่เป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง
โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล [ 2014-06-23 ] ตอบ 1127
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.