สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 73 คน
 สถิติเมื่อวาน 212 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
6516 คน
21599 คน
2733127 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


การแบ่งแย่งโฉนดที่ดินกรรมสิทธิ์ร่วม(ชื่อคนตาย)
1. คุณตา(เสียชีวิตแล้ว)
2. ลูกสาวพี่ชายคุณตา(มีชีวิตอยู่)
3. พี่สาวคุณตา(เสียชีวิตแล้ว)

คุณยาย(จดทะเบียนสมรส) ต้องแบ่งแยกโฉนดส่วนของคุณตา จำนวน 6 ไร่
ต้องดำเนินการอย่างไรบ้างครับ


หมายเหตุ: โฉนดที่ดินติดจำนองเฉพาะส่วนลูกสาวของพี่ชายคุณตาที่ธนาคาร

ปล. ทายาททั้ง 3 ฝ่าย ได้ตกลงและแบ่งส่วนที่ดินกันไว้เรียบร้อยแล้ว

ขอบพระคุณล่วงหน้าสำหรับคำแนะนำครับ
โดย biu (ip171.96.185.89) อี-เมล์ biu (ip171.96.185.89) เบอร์โทรศัพท์. biu IP: xxx [ 2015-02-20 ]

คำตอบจาก Webmaster
ในส่วนของผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมในโฉนดที่ดินที่เสียชีวิตแล้ว (คุณตาและพี่สาวคุณตา) จะต้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งให้ผู้มีส่วนได้เสียเป็นผู้จัดการมรดกของคุณตา และเป็นผู้จัดการมรดกพี่สาวของคุณตาก่อน

เมื่อได้คำสั่งแล้่ว นำคำสั่งไปจดทะเบียนลงชื่อผู้จัดการมรดก

เมื่อจดทะเบียนลงชื่อผู้จัดการมรดกของคุณตา และพี่สาวคุณตาเรียบร้อยแล้ว ให้ผู้จัดการมรดกทั้งสองคนและลูกสาวพี่ชายคุณตา ทำบันทึกข้อตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวมและยื่นคำขอรังวัดแบ่งกรรมสิทธิ์รวม (แบ่งตามส่วนที่ทายาททั้ง 3 ฝ่ายได้ตกลงกันไว้)

กรณีทีดินเฉพาะส่วนของลูกสาวพี่ชายคุณตาซึ่งติดจำนองเฉพาะส่วนอยู่ จะต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากธนาคารฯ ในการยื่นคำขอรังวัดแบ่งกรรมสิทธิ์รวมก่อน จึงจะทำการรังวัดได้

เมื่อรังวัดที่ดินออปเ็น 3 ส่วนแล้ว ผู้จัดการมรดกของคุณตาและพี่สาวคุณตา จึงโอนมรดกที่ดินให้ทายาท
โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล [ 2015-02-21 ] ตอบ 1201
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.