สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 186 คน
 สถิติเมื่อวาน 111 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
6417 คน
21500 คน
2733028 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


แบ่งกรรมสิทธิ์รวม
การขอจดทะเบียนแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวม โดยผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมท่านหนึ่งได้เสียชีวิตไปแล้ว
ขอสอบถามว่าทายาทของผู้เสียชีวิตนั้น จำเป็นต้องรับโอนมรดกก่อนที่จะทำการจดทะเบียนหรือไม่
หากเป็นเช่นนั้น การคำนวณ ภาษีที่จะต้องชำระที่สำนักงานที่ดิน จะต้องนำกรณีภาษีมรดกมารวมคำนวณด้วยหรือไม่ครับ หรือว่าชำระเพียงแค่ค่าธรรมเนียมโอนกรรมสิทธิ์ 0.5% เท่านั้น
ขอบคุณมากครับ
โดย Sam (ip27.55.74.241) อี-เมล์ Sam (ip27.55.74.241) เบอร์โทรศัพท์. Sam IP: xxx [ 2016-10-18 ]

คำตอบจาก Webmaster
ก่อนจดทะเบียนกรรมสิทธิ์รวม เมื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมถึงแก่กรรม จำเป็นที่จะต้องรับโอนมรดกก่อนที่จะทำการจดทะเบียนหรือไม่ นั้น เห็นว่า เมื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมเสียชีวิตแล้ว หากจะจดทะเบียนแบ่งกรรมสิทธิ์รวมสามารถทำได้วิธีใดวิธีหนึ่งใน 2 วิธีดังนี้
1. ตั้งผู้จัดการมรดก แล้วให้ผู้จัดการมรดกนำคำสั่งศาลไปจดทะเบียนลงชื่อผู้จัดการมรดก กรณีนี้ ยังไม่ได้รับโอนมรดก ถือว่า ผู้จัดการมรดกทำหน้าที่แทนทายาทในการจดทะเบียนแบ่งกรรมสิทธิ์รวมเท่านั้นเท่านั้น เมื่อผู้จัดการมรดกจดทะเบียนแบ่งกรรมสิทธิ์รวมแล้ว จะขายที่ดินส่วนดังกล่าวแล้วนำเงินมาแบ่งปันให้แก่ทายาท หรือจะโอนมรดกให้แก่ทายาทก็ได้ หรือ
2. ทายาทที่มีสิทธิรับมรดก ยื่นคำขอรับมรดกเฉพาะส่วนของผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมของผู้เสียชีวิต เมื่อรับมรดกแล้ว จึงจะดำเนินการจดทะเบียนแบ่งกรรมสิทธิ์รวมได้

เมื่อเป็นการโอนมรดกระหว่างผู้บุพการีกับผู้สืบสันดาน หรือระหว่างคู่สมรส ก็จะต้องเสียค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 0.5 ของราคาประเมินทุนทุนทรัพย์

ส่วนกรณีที่จะต้องเสียภาษีมรดกหรือไม่นั้น จะต้องเข้าหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
1. ราคาประเมินที่ดินที่กรมที่ดินกำหนดเพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียม หักด้วยภาระที่ถูกรอนสิทธิ เช่น ภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่มีการชำระค่าตอบแทนล่วงหน้าตลอดระยะเวลาการเช่า
กรณีการคำนวณหามูลค่าของภาระที่ถูกรอนสิทธินั้น เป็นไปตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การหักภาระที่ถูกรอนสิทธิในการคำนวณมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นมรดก พ.ศ. 2559 ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2559

2. หากหักตามข้อ 1. แล้ว เฉพาะส่วนที่เกิน 100 ล้านบาทเท่านั้นที่จะต้องเสียภาษ๊ หากไม่เกินก็ไม่ต้องเสีย

3. ส่วนที่เกิน 100 ล้านบาทนั้น ผู้รับมรดกมีหน้าที่เสียภาษีการรับมรดกโดยการยื่นแบบแสดงรายการภาษีการรับมรดก (ภ.ม.60) และชำระภายใน 150 วันนับแต่วันที่ได้รับมรดกที่เป็นเหตุให้มีหน้าที่ต้องเสียภาษี
โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล [ 2016-10-20 ] ตอบ 1436
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.