สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 1 คน
 สถิติเมื่อวาน 80 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
4038 คน
25754 คน
2737282 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


สัญญาจำนองที่ดิน,สัญญาเงินกู้,เวนคืนที่ดิน
กฎหมายใหม่ที่ให้ผู้รับจำนองยึดได้เพียงแต่ทรัพย์ที่จำนองเท่านั้นไม่สามารถยึดทรัพย์อื่นหรือไล่เบี้ยบุคคลภายในครอบครัวให้ใช้หนี้แทน อยากทราบว่า
1. เป็นกฎหมายอะไร มาตราอะไร&มีข้อความบัญญัติว่าอย่างไร(เพื่อใช้อ้างอิง) มีผลบังคับใช้กับสัญญาเงินกู้ & สัญญาจำนองที่ดิน(ทด15)ด้วยใช่หรือไม่

2. กรณีสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกัน(ทด.15)ที่มีข้อความว่า "หากมีการบังคับจำนองขายทอดตลาดทรัพย์จำนอง ได้เงินไม่พอชำระหนี้ ยินยอมให้ยึดทรัพย์สินอื่นชำระหนี้จนครบ" จะถือว่าเป็นโมฆะไม่มีผลตามกฎหมายใช่หรือไม่ (ตามกฎหมายใหม่)

3. กรณีสัญญาเงินกู้ซื้อบ้านกับธนาคาร ซึ่งต้องทำควบคู่กับสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกัน(ทด.15) ระบุข้อความว่า"หากมีการบังคับจำนองขายทอดตลาดทรัพย์จำนอง ได้เงินไม่พอชำระหนี้ ยินยอมให้ยึดทรัพย์สินอื่นชำระหนี้จนครบ" จะถือว่าเป็นโมฆะไม่มีผลตามกฎหมายใช่หรือไม่ (ตามกฎหมายใหม่)

4. กรณีเงินใช้หนี้ไม่พอ ธนาคารจะไล่เบี้ยกับบุคคลอื่นภาย ในครอบครัวเช่นพ่อแม่ลูกพี่น้องให้ใช้หนี้ได้ จะต้องระบุในสัญญาไม่ว่าจะเป็นสัญญาเงินกู้ หรือ สัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันใช่หรือไม่ จะต้องมีข้อความระบุในสัญญาทำนองใด รบกวนยกตัวอย่างให้ด้วยนะคะ

5. กรณีบริษัทเจ้าของโครงการยื่นจดทะเบียนขอใบอนุญาติจัดสรรที่ดิน อยากทราบว่า
5.1 กรมที่ดินมีหน้าที่ตรวจสอบว่าที่ดินแปลงที่ต้องการจัดสรรจะถูกเวนคืนหรือไม่ ใช่หรือไม่ ถ้าไม่ถูกเวนคืนจึงออกใบอนุญาติจัดสรรให้ทำการจัดสรรที่ดินได้ใช่หรือไม่
5.2 ถ้ากรมที่ดินไม่ได้มีหน้าที่ตรวจสอบก่อนออกใบอนุญาติจัดสรรที่ดิน ผู้จะซื้อ บ้านพร้อมที่ดินจัดสรรนี้ต้องไปเช็คที่หน่วยงานใด ดูเอกสารใด
5.3 กรณีบ้านพร้อมที่ดินที่ซื้อมาถูกเวนคืนภายหลังจะร้องเรียนให้กรมที่ดิน/บริษัทเจ้าของโครงการ/ใครรับผิดชอบได้
5.4 ปกติการเวนคืนที่ดินจากรัฐ จะได้ค่าชดเชยตามราคาประเมิน/ราคาตลาด หรือไม่ &จะได้ค่าชดเชยเฉพาะที่ดินหรือรวมบ้านที่ปลูกสร้างบนที่ดินด้วย& มีวิธีคำนวนค่าชดเชยอย่างไร

ขอบคุณค่ะ

โดย P (ip27.130.101.186) อี-เมล์ P (ip27.130.101.186) เบอร์โทรศัพท์. P IP: xxx [ 2017-05-23 ]

คำตอบจาก Webmaster
1. พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2557 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 131 ตอนที่ 77 ก วันที่ 13 พฤศจิกายน 2557 มีผลใช้บังคับวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558 (แก้ไขกฎหมายค้ำประกันและจำนอง) เช่น การค้ำประกันหนี้เงินกู้ การจำนองทรัพย์สินเป็นประกันหนี้เงินกู้ ฯลฯ
2-3-4. กรณีผู้จำนองได้จำนองทรัพย์สินของตนเพื่อเป็นประกันหนี้บุคคลอื่นเท่านั้นที่ไม่ต้องรับผิดเกินราคาทรัพย์สินที่จำนองในเวลาที่บังคับจำนอง จึงจะเป็นโมฆะตามกฎหมายใหม่ (มาตรา 727/1) แต่ในกรณีที่ลูกหนี้จำนองทรัพย์สินของตนเอง เจ้าหนี้สามารถตกลงกันให้ลูกหนี้รับผิดในหนี้ส่วนที่ยังขาดอยู่จากการบังคับจำนองได้ ไม่เป็นโมฆะ
5.1 กรมที่ดินไม่มีหน้าที่ตรวจสอบก่อนออกใบอนุญาตให้เทำการจัดสรรที่ดินว่าที่ดินจัดสรรจะถูกเวนคืนหรือไม่
5.2 ตรวจสอบกับหน่วยงานที่จำเป็นต้องใช้ที่ดินเพื่อสาธารณะประโยชน์ เช่น การรถไฟ การรถไฟฟ้ามหานคร การทางพิเศษ กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท การท่าอากาศยาน การไฟฟ้าฯลฯ ดูพระราชกฤษฎีกาการเวนคืน
5.3,5.4 กรมที่ดินและบริษัทเจ้าของโครงการ ไม่มีความรับผิดชอบตามกฎหมายที่จะต้องชดใช้เงินให้ผู้ซื้อ เพราะในขณะขอจัดสรรทั้งกรมที่ดินและเจ้าของโครงการก็ไม่ทราบว่า ที่ดินบริเศณดังกล่าวจะถูกเวนคืนในอนาคต ปกติการเวนคืน ทางหน่วยงานของรัฐจะจ่ายเงินค่าทดแทนให้กับเจ้าของที่ดินอยู่แล้ว กรณีมีสิ่งปลูกสร้างก็จะจ่ายค่าทดแทนด้วย วิธีคำนวณค่าทดแทนมีรายละเอียดค่อนข้างมากตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 (ศึกษาได้ในเมนูที่ 134)

โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล [ 2017-05-25 ] ตอบ 1489
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.