สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 25 คน
 สถิติเมื่อวาน 80 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
4063 คน
25779 คน
2737307 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


พื้นที่ส่วนกลางคอนโด
ได้ซื้อพื้นที่ร้านค้า ชั้น 1 ของคอนโดหนึ่งมาค่ะ และโอนกรรมสิทธิ์ปกติเรียบร้อยค่ะ

ภายหลังพบว่า คอยล์ร้อนของแอร์ร้านค้า (ac compressor) ตั้งอยู่บนพื้นที่ส่วนกลางด้านล่างคอนโด
ข้อเท็จจริง
- บริษัทที่สร้างคอนโดยื่นแบบขอก่อสร้างจากกทม. และผ่านเรียบร้อยก่อนก่อสร้าง โดยในแบบนี้มีผังระบบปรับอากาศที่กทม.อนุมัติแล้ว
- ไม่ได้มีการย้ายคอยล์ร้อนใดเลย อยู่ที่เดิมตั้งแต่ตึกก่อสร้างเสร็จ
- อยู่ๆนิติบุคคลจะเก็บค่าวางคอยล์ร้อนบนพื้นที่ส่วนกลางนี้

รบกวนช่วยตอบคำถามนี้นะคะ
- นิติบุคคลสามารถเก็บค่าพื้นที่ส่วนกลางนี้ได้มั้ย เพราะทางนิติก็รับมอบทรัพย์สินมาดูแล ตามสภาพที่ได้รับมอบ
- ค่าเช่าพื้นที่ส่วนกลางนี้ คิดยังไงคะ สามารถตกลงกันเองหรือ ต้องอ้างอิงจากราชการ เพราะในส่วนนี้ เก็บเพื่อการใช้งานแอร์ ซึ่งเป็นสิ่งพื้นฐานทั่วไป คิดว่าไม่ใช่พาณิชย์
- ค่าเช่าพื้นที่ส่วนกลางนี้ นิติเค้าต้องเสียภาษีมั้ยคะ
โดย อ้อ (ip184.22.217.191) อี-เมล์ อ้อ (ip184.22.217.191) เบอร์โทรศัพท์. อ้อ IP: xxx [ 2019-01-13 ]

คำตอบจาก Webmaster
การขออนุญาตก่อสร้างอาคาร เป็นการขอตามกฎหมายควบคุมอาคาร แต่การจดทะเบียนอาคารชุด เป็นไปตามกฎหมายอาคารชุด หากที่วางแอร์นั้นได้วางบนพื้นที่ส่วนกลาง นิติบุคคลมีสิทธิที่จะเรียกเก็บค่าวางคอยล์ร้อน เพราะไปวางบนพื้นที่ส่วนกลาง

แต่การที่นิติฯ เรียกเก็บค่าวางคอยล์ร้อนบนพื้นที่ส่วนกลาง ถือเป็นการจัดหาผลประโยชน์ในทรัพย์ส่วนกลางตามมาตรา 48 (7) จะต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมว่า จะนำพื้นที่ส่วนกลางให้เจ้าของร่วมวางคอยล์ร้อนและจะจัดเก็บค่าใช้พื้นที่ส่วนกลางเป็นเงินเท่านั้นเท่านี้บาท หากที่ประชุมใหญ่สามัญเจ้าของร่วมลงมติอนุมัติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนคะแนนเสียงของเจ้าของร่วมทั้งหมด (ไม่ใช่เจ้าของร่วมที่มาประชุม หากประชุมครั้งแรกเสียงไม่ถึง จะต้องจัดประชุมใหม่ภายใน 15 วันนับจากวันประชุมครั้งแรกในการประชุมครั้งหลังนี้ใช้คะแนนเสียง 1 ใน 3) นิติฯ จึงจะสามารถนำพื้นที่ส่วนกลางให้เจ้าของร่วมวางคอยล์ร้อนได้

ส่วนนิติฯ ต้องเสียภาษีหรือไม่นั้น มีข้อหารือของกรมสรรพากรวางหลักไว้ดังนี้

ข้อหารือ

1. กรณีนิติบุคคลอาคารชุดฯ ได้เรียกเก็บค่าบริการส่วนกลางหมู่บ้านจากผู้อยู่อาศัยในบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮ้าส์ ซึ่งไม่ใช่ เจ้าของห้องชุด ในนามของนิติบุคคลอาคารชุดฯ เพื่อเป็นค่าบริการรักษาความปลอดภัย ค่าบริการรักษาความสะอาด ค่าไฟฟ้า ส่วนกลางหมู่บ้าน ค่าดูแลสวน ค่าซ่อมบำรุงทั่วไปและค่าเก็บขยะนั้น สามารถกระทำได้หรือไม่ และต้องเสียภาษีหรือไม่ อย่างไร

2. กรณีนิติบุคคลอาคารชุดฯ ยินยอมให้ผู้อยู่อาศัยในบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮ้าส์ซึ่งไม่ใช่เจ้าของห้องชุด ใช้บริการทรัพย์ ส่วนกลางของนิติบุคคลอาคารชุดฯ เช่น สระว่ายน้ำ เซาน์น่า ฟิตเนส และสนามเทนนิส เป็นต้น โดยเรียกเก็บค่าบริการเป็น รายเดือนนั้น สามารถกระทำได้หรือไม่ และต้องเสียภาษีหรือไม่ อย่างไร

แนววินิจฉัย

1. กรณีนิติบุคคลอาคารชุดฯ สามารถเรียกเก็บค่าบริการส่วนกลางหมู่บ้านและค่าใช้บริการทรัพย์ส่วนกลางของนิติบุคคล อาคารชุดฯ จากผู้อยู่อาศัยในบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮ้าส์ ซึ่งไม่ใช่เจ้าของห้องชุดได้หรือไม่นั้น ต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 อย่างไรก็ดี เนื่องจากนิติบุคคลอาคารชุดฯ เป็นนิติบุคคล อาคารชุด ตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 ไม่เข้าลักษณะเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามบทนิยามในมาตรา 39 แห่ง ประมวลรัษฎากร จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 และมาตรา 66 แห่งประมวลรัษฎากร

2. หากนิติบุคคลอาคารชุดฯ มีรายรับจากการให้บริการรักษาความปลอดภัย รักษาความสะอาด ให้บริการไฟฟ้า ดูแลสวน ซ่อมบำรุงทั่วไปและเก็บขยะให้แก่หมู่บ้าน ตลอดจนมีรายรับจากการให้บริการทรัพย์ส่วนกลางของนิติบุคคลอาคารชุดฯ เช่น สระว่ายน้ำ เซาน์น่า ฟิตเนส และสนามเทนนิส แก่ผู้อยู่อาศัยในบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮ้าส์ ซึ่งไม่ใช่เจ้าของห้องชุดนั้น การให้บริการ ดังกล่าว ถือเป็นการให้บริการแก่บุคคลอื่นซึ่งมิใช่เจ้าของห้องชุด เข้าลักษณะเป็นกิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และ หากนิติบุคคลอาคารชุดฯ มีรายรับที่เป็นฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม เกินกว่า 1,800,000 บาทต่อปี นิติบุคคลอาคารชุดฯ ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากรายรับที่ได้จากกิจการดังกล่าวด้วย ทั้งนี้ ตามมาตรา 77/2 และมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร

เลขตู้ : 73/37336 (เลขที่หนังสือ กค 0702/4297 ลว. 18 มิ.ย.53)
โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล ส่งเมล์ถึง วัชรพล วัชรตระกูล [ 2019-01-14 ] ตอบ 1576
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.