สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 53 คน
 สถิติเมื่อวาน 212 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
6496 คน
21579 คน
2733107 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


ปัญหาการอยู่อาศัยในคอนโด



เรียนปรึกษาขอคำแนะนำกรณีปัญหาการอยู่อาศัยคอนโด



1.น้ำรั่วจากห้องข้างบนทำให้ห้องข้างล่างเสียหายอยู่อาศัยไม่ได้ปกติ   เจ้าของห้องข้างบนไม่ยอมซ่อมแก้ไข  นิติบุคคลไม่สามารถประสานจัดการอะไรให้คืบหน้าได้  เจ้าของห้องข้างล่างควรดำเนินการอย่างไรดี  มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้อย่างไร  เรียกจากส่วนกลาง/นิติฯ ได้หรือไม่ หรือระงับการจ่ายค่าส่วนกลางได้หรือไม่



2.ท่อเมนน้ำประปาก่อนเข้ามิเตอร์  ท่อน้ำเสียเมนที่เดินผ่านในแต่ละห้องชุด เมื่อเกิดชำรุดต้องซ่อมมีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นนั้น
อยู่ในความรับผิดชอบของนิติบุคคลอาคารชุด ใช้เงินส่วนกลาง หรือ เจ้าของห้องชุด ๆ
ต้องจ่ายเงินเอง



3.เงินส่วนกลาง  ถูกรวมหัวกันทุจริตจนหมด  เอกสารหลักฐานถูกทำลายหมด   เจ้าของห้องชุดควรทำอย่างไรดี  มีสิทธิทำอะไรได้บ้าง



ขอขอบคุณท่านอย่างสูง

โดย P IP: xxx [ 2019-05-03 ]

คำตอบจาก Webmaster
1. น้ำรั่วจากห้องข้างบน หากจุดที่น้ำรั่วอยู่ในห้องชุดของห้องข้างบน ห้องข้างบนต้องรับผิดชอบ นิติบุคคลฯ ไม่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายที่จะเข้าไปจัดการเพราะจุดที่น้ำรั่วมิใช่เกิดจากบริเวณพื้นที่ส่วนกลาง แต่เกิดภายในห้องชุดซึ่งเป็นทรัพย์ส่วนบุคคลของห้องชุดชั้นบน เจ้าของห้องข้างล่างควรยื่นโนติ๊สให้ห้องข้างบนมาซ่อมแซมและรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายต่อทรัพย์สินที่เกิดจากน้ำรั่ว จะเรียกจากนิติบุคคลอาคารชุดไม่ได้เพราะเหตุที่เกิดไม่ได้เกิดจากท่อส่วนกลาง จะระงับการจ่ายค่าส่วนกลางก็ไม่ได้เช่นเดียวกัน เพราะเจ้าของร่วมมีหน้าที่ต้องชำระค่าส่วนกลางตามกฎหมาย

2. ท่อเมนน้ำประปาก่อนเข้ามิเตอร์ของห้องชุด ถือเป็นท่อส่วนกลางซึ่งอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของนิติบุคคลอาคารชุด ๆ มีหน้าที่จะต้องรับผิดชอบซ่อมแซมบำรุงรักษา

3. เข้าชื่อทำหนังสือให้เปิดประชุมเพื่อถอดถอนกรรมการและผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด (ควรหาผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดเพื่อให้ที่ประชุมใหญ่แต่งตั้งเพื่อเป็นแทน) กรณีถอดถอนผู้จัดการจะต้องรวบรวมเจ้าของร่วมมาประชุมเพื่อลงมติถอดถอนด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของเจ้าของร่วมทั้งหมด (ไม่ใช่เจ้าของร่วมที่มาประชุม) เมื่อจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงผู้จัดการและกรรมการเรียบร้อยแล้ว กรรมการชุดใหม่ควรว่าจ้างผู้สอบบัญชีมาตรวจสอบ หากพบว่ามีการยักยอก หรือทำลายเอกสาร กรรมการชุดใหม่ก็ควรดำเนินการกับผู้กระทำความผิดไปตามกฎหมาย
โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล ส่งเมล์ถึง วัชรพล วัชรตระกูล [ 2019-05-03 ] ตอบ 1588
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.