สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 3 คน
 สถิติเมื่อวาน 65 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
4687 คน
26403 คน
2737931 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


การมอบอำนาจเข้าประชุมเจ้าของร่วม
1.การมอบอำนาจของเจ้าของร่วมคอนโดมีเนียมที่ไม่สามารถเข้าร่วมประชุมเจ้าของร่วม การมอบอำนาจต้องทำเป็นหนังสือมอบอำนาจ ที่มีการลงลายมือชื่อผู้มอบอำนาจ ผู้รับมอบอำนาจ และพยานสองคน จะต้องแนบสำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจด้วยหรือไม่ หากไม่มีสำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบอำนาจ หรือ ไม่มีสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบ ในวันและเวลาที่ประชุม จะสามารถถือว่าการมอบอำนาจสมบูรณ์หรือไม่ สามารถเข้าร่วมประชุมเพื่อนับองค์ประชุม และสามารถลงมติในการประชุมได้หรือไม่ และต้องปิดอากรแสตมป์สิบบาทด้วยหรือไม่
2.กรรมการสามารถเป็นผู้รับมอบอำนาจการเข้าร่วมประชุม และรับมอบอำนาจลงมติการประชุมได้หรือไม่
3.การลงมติการประชุมเจ้าของร่วม เจ้าของร่วมที่ค้างชำระค่าส่วนกลางรายเดือน สามารถเข้าร่วมประชุมเพื่อนับองค์ประชุมได้หรือไม่ และสามารถลงมติในการประชุมได้หรือไม่
โดย ปราบกังฉิน (ip171.7.42.139) อี-เมล์ ปราบกังฉิน (ip171.7.42.139) เบอร์โทรศัพท์. ปราบกังฉิน IP: xxx [ 2019-05-07 ]

คำตอบจาก Webmaster
มาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 บัญญัติว่า "เจ้าของร่วมอาจมอบฉันทะเป็นหนังสือให้ผู้อื่นออกเสียงแทนตนได้ แต่ผู้รับมอบฉันทะคนหนึ่งจะรับมอบฉันทะให้ออกเสียงในการประชุมครั้งหนึ่งเกินสามห้องชุดมิได้

บุคคลต่อไปนี้จะรับมอบฉันทะให้ออกเสียงแทนเจ้าของร่วมมิได้
(1) กรรมการและคู่สมรสของกรรมการ
ฯลฯ

จากบทบัญญัติดังกล่าวจะเห็นว่า หากเจ้าของร่วมไม่สามารถเข้าประชุมได้ ก็อาจมอบฉันทะให้ผู้อื่นออกเสียงแทนตนได้ จากถ้อยคำของกฎหมายดังกล่าว จึงเห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายอาคารชุดได้ว่า ถ้าเจ้าของร่วมไม่สามารถเข้าประชุมได้ ก็ให้ใช้ "ใบมอบฉันทะ" มอบให้ผู้อื่นออกเสียงแทนตนได้
ซึ่งในการมอบฉันทะนี้ บัญชีอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร ข้อ 8. กำหนดให้ปิดอากรแสตมป์ในใบมอบฉันทะสำหรับลงมติในที่ประชุมของบริษัทฯ เท่านั้น จึงแปลความได้ว่า การมอบฉันทะให้ออกเสียงในการประชุมใหญ่ของเจ้าของร่วม จึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย

อย่างไรก็ดี กฎหมายอาคารชุดก็ไม่ได้ห้ามให้ใช้หนังสือมอบอำนาจ ดังนั้น เจ้าของร่วมจึงใช้หนังสือมอบอำนาจให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งเข้าประชุมแทนตนได้ แต่จะต้องปิดอากรแสตมป์ให้ถูกต้องตามบัญชีอากรแสตมป์ จึงจะเป็นการมอบอำนาจที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย

ปัญหาว่า การมอบฉันทะก็ดี การมอบอำนาจก็ดี หากไม่มีสำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบและผู้รับมอบ จะถือว่าการมอบอำนาจสมบูรณ์หรือไม่นั้น เห็นว่า ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้การมอบอำนาจจะต้องแนบสำเนาบัตรประชาชนผู้มอบและผู้รับมอบ จึงจะมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย ดังนั้น ใบมอบฉันทะก็ดี หนังสือมอบอำนาจก็ดี แม้ไม่ได้แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้มอบและผู้รับมอบ ก็เป็นการมอบฉันทะ/มอบอำนาจที่สมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว มีสิทธิเข้าร่วมประชุมและลงมติในการประชุมได้

2) กรรมการไม่สามารถรับมอบฉันทะจากเจ้าของร่วมได้ เนื่องจากต้องห้ามตามมาตรา 47 วรรค 2 (1) ดังได้แสดงไว้ข้างต้น

3) เจ้าของร่วมที่ค้างชำระค่าส่วนกลางรายเดือนตั้งแต่หกเดือนขึ้นไป มีสิทธิเข้าร่วมประชุมได้ แต่ไม่มีสิทธิออกเสียงในการประชุมใหญ่ มาตรา 18/1 วรรค 2 ห้ามเฉพาะสิทธิในการออกเสียงเท่านั้น ไม่ได้ห้ามสิทธิในการเข้าประชุม
โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล ส่งเมล์ถึง วัชรพล วัชรตระกูล [ 2019-05-07 ] ตอบ 1589
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.