สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 4 คน
 สถิติเมื่อวาน 73 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
2963 คน
63378 คน
2774906 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20

Rigth frame : "land allocation"

การบำรุงรักษาสาธารณูปโภคในโครงการจัดสรรที่ดิน


1."การค้ำประกันการจัดทำสาธารณูปโภคในโครงการ"ในกรณีที่คณะกรรมการเห็นสมควรอนุญาตให้ทำการจัดสรรที่ดิน หากผู้นั้นยังมิได้จัดให้มีสาธารณูปโภคบริการสาธารณะ หรือดำเนินการยังไม่แล้เสร็จตามแผนผังโครงการ คณะกรรมการจะต้องให้ผู้ขอใบอนุญาตทำการจัดสรรที่ดินจัดหาธนาคารหรือสถาบันการเงินที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางกำหนดมาทำสัญญาค้ำประกันกับคณะกรรมการ (ราคาค่าก่อสร้างที่จัดทำเสร็จแล้ว+15%)

2."การค้ำประกันการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคในโครงการ" ผู้จัดสรรที่ดินจัดทำสาธารณูปโภคเสร็จทั้งโครงการ ต้องทำสัญญาค้ำประกันบำรุงรักษาทั้งโครงการ ในกรณีที่ผู้จัดสรรที่ดินจัดทำสาธารณูปโภคเสร็จเพียงบางส่วน ผู้จัดสรรที่ดินจะต้องทำสัญญาค้ำประกันบำรุงรักษาเฉพาะส่วนที่ทำเสร็จ การทำสัญญาค้ำประกันการบำรุงรักษามีอัตราร้อยละเจ็ดของราคาค่าก่อสร้างกลางของทางราชการในขณะทำสัญญา

3."การบำรุงรักษาสาธารณูปโภค" สาธารณูปโภคที่ผู้จัดสรรที่ดินจัดให้มีขึ้นในโครงการให้ตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรร และให้เป็นหน้าที่ของผู้จัดสรรทีดินที่จะบำรุงรักษาสาธารณูปโภคดังกล่าวให้คงสภาพเดิมเช่นที่ได้จัดทำไว้และจะกระทำการอันใดอันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกมิได้ และให้ผู้จัดสรรที่ดินจัดหาธนาคารหรือสถาบันการเงินมาทำสัญญาค้ำประกันการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคซึ่งผู้จัดรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้น (7% ของราคาค่าก่อสร้าง)

4."ผู้จัดสรรที่ดินพ้นจากหน้าที่ในการบำรุงรักษาสาธารณูปโภค" ผู้จัดสรรที่ดินจะพ้นจากหน้าที่ในการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคในโครงการจัดสรรที่ดินต่อเมื่อปรากฏว่า ครบกำหนดระยะเวลาในการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคตามที่ระบุไว้ในโครงการและวิธีการจัดสรรที่ดินและมีการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งตามลำดับดังต่อไปนี้ คือ
           4.1 มีการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่นที่มารับโอนสาธารณูปโภคดังกล่าวไปจัดการดูแลบำรุงรักษา
           4.2 ผู้จัดสรรที่ดินได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการจัดสรรที่ดินให้ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อการบำรุงรักษาสาธารณูปโภค
           4.3 ผู้จัดสรรที่ดินได้จดทะเบียนโอนทรัพย์ที่เป็นสาธารณูปโภคเหล่านั้นให้เป็นสาธารณะประโยชน์แล้ว

5."นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร" เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายและต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรต่อเจ้าพนักงานที่ดิน นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลบำรุงรักษาทรัพย์สินซึ่งเป็นสาธารณูปโภค ออกระเบียบกำหนดการใช้ทรัพย์ที่เป็นสาธารณูปโภค จัดเก็บค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและจัดการสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ

6."ขั้นตอนการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรของโครงการจัดสรรที่ดินที่ได้รับอนุญาตตามพ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543" มีขั้นตอนและเงื่อนไข ดังนี้

           6.1 ผู้จัดสรรที่ดินที่มีความประสงค์จะพ้นจากหน้าที่บำรุงรักษาสาธารณูปโภตที่ได้จัดให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรที่ดินตามแผนผังและโครงการที่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการ เมื่อครบกำหนด
                 ระยะเวลาที่ผู้จัดสรรที่ดินต้องบำรุงรักษาสาธารณูปโภค และมีผู้ซื้อที่ดินจัดสรรจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนแปลงย่อยตามแผนผังโครงการจัดสรรทีดินแล้ว ต้องดำเนินการดังนี้
                 6.1.1 ผู้จัดสรรที่ดินแจ้งให้ผู้ซื้อทุกรายทราบพร้อมบัญชีทรัพย์สินที่เป็นสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ (ประกอบด้วยหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน,จำนวนเงินค่าบำรุงรักษา
                         สาธารณูปโภคที่ผู้จัดสรรที่ดินต้องรับผิดชอบซึ่งต้องไม่น้อยกว่าเงินที่ทำสัญญาค้ำประกันการบำรุงรักษาสาธารณูปโภค-ร้อยละ 7 ของประมาณการค่าจัดทำสาธารณูปโภคทั้ง
                         โครงการตามราคาค่าก่อสร้างกลางของทางราชการในขณะทำสัญญาค้ำประกันการบำรุงรักษาฯ ซึ่งไม่รวมค่าจัดทำระบบไฟฟ้าและประปา) เพื่อดำเนินการจัดตั้งนิติบุคคล
                         หมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น เพื่อรับโอนทรัพย์สินดังกล่าวไปจัดการดูแลรักษา โดยกำหนดระยะเวลาให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรต้องจัดตั้งนิติบุคคลฯ และรับโอน
                         ทรัพย์สินตามบัญชีให้แล้วเสร็จ ซึ่งต้องไม่น้อยกว่า 180 วัน นับแต่วันที่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรรายสุดท้ายได้รับแจ้ง การแจ้งดังกล่าวให้ทำเป็นหนังสือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน
                         ไปยังภูมิลำเนาของผู้ซื้อที่ดินจัดสรร
                 6.1.2 ประกาศหนังสือพิมพ์ซึ่งแพร่หลายในท้องถิ่นนั้นไม่น้อยกว่า 3 วัน
                 6.1.3 ปิดประกาศสำเนาหนังสือแจ้งผู้เซื้อที่ดินจัดสรรและบัญชีทรัพย์สินที่เป็นสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะไว้ในที่เปิดเผย ณ บริเวณที่ทำการจัดสรรตามกำหนดเวลา
                         ที่ระบุไว้ในหนังสือแจ้ง โดยต้องมีผู้ซื้อที่ดินจัดสรรจำนวนไม่น้อยกว่าห้าคนลงลายมือชื่อเป็นพยาน

           6.2 ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรที่มีความประสงค์จะจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร เมื่อได้รับหนังสือแจ้งจากผู้จัดสรรที่ดินให้จัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น
                  เพื่อรับโอนทรัพย์สินที่เป็นสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะไปจัดการดูแลและบำรุงรักษาจะต้องดำเนินการ ดังนี้
                  6.2.1 จัดให้มีการประชุมผู้ซื้อที่ดินจัดสรร เพื่อมีมติจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรและแต่งตั้งตัวแทนยื่นคำขอจดทะเบียนนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรพร้อมด้วยข้อบังคับนิติบุคคล
                          หมู่บ้านจัดสรร มติดังกล่าวต้องมีผู้ซื้อที่ดินจัดสรรจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนแปลงย่อยที่จัดจำหน่ายตามแผนผังและโครงการที่ได้รับอนุญาตลงคะแนนเสียงให้จัดตั้ง
                  6.2.2 จัดทำข้อบังคับ ซึ่งผู้ซื้อที่ดินจัดสรรมีมติให้ความเห็นชอบในที่ประชุม ข้อบังคับอย่างน้อยต้องมีรายการดังนี้
                          (1) ชื่อนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
                          (2) วัตถุประสงค์
                          (3) ที่ตั้งสำนักงาน
                          (4) ข้อกำหนดเกี่ยวกับจำนวนกรรมการ การเลือกตั้ง วาระการดำรงตำแหน่ง การเริ่มดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง และการประชุมของคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรร
                               ซึ่งต้องประชุมอย่างน้อยปีละสองครั้ง
                          (5) ข้อกำหนดเกี่ยวกับการดำเนินงาน การบัญชีและการเงิน
                          (6) ข้อกำหนดเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของสมาชิก
                          (7) ข้อกำหนดเกี่ยวกับการประชุมใหญ่
                          (8) ข้อกำหนดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงข้อบังคับ
                          (9) ข้อกำหนดเกี่ยวกับการยกเลิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
                  6.2.3 จัดทำรายงานการประชุมครั้งที่มีการประชุม
                  6.2.4 ตัวแทนผู้ได้รับแต่งตั้งยื่นคำขอจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาแห่งท้องที่ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่
                          พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานดังนี้
                          (1) รายงานการประชุมของผู้ซื้อที่ดินจัดสรร จำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนแปลงย่อยตามแผนผังโครงการที่มีมติให้จัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
                               เห็นชอบข้อบังคับและแต่งตั้งตัวแทนในการยื่นคำขอ
                          (2) สำเนาข้อบังคับ
                          (3) หลักฐานการรับแจ้งให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรและระยะเวลาที่ผู้จัดสรรที่ดินกำหนดให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรดำเนินการ
                          (4) บัญชีที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะที่ผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรที่ดินตามแผนผังและโครงการที่ได้รับอนุญาต
                               พร้อมสำเนาหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินที่เกี่ยวข้อง
                  6.2.5 เมื่อผู้ซื้อทีดินจัดสรรสามารถดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรได้แล้ว ให้ดำเนินการดังนี้
                          (1) แจ้งให้ผู้จัดสรรที่ดินทราบพร้อมกำหนดวันจดทะเบียนโอนทรัพย์สินและส่งมอบเงินค่าบำรุงรักษาสาธารณูปโภคที่ผู้จัดสรรที่ดินต้องรับผิดชอบตามบัญชีทรัพย์สิน
                               ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวทั้งหมดต้องให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่ผู้จัดสรรที่ดินกำหนดในหนังสือแจ้ง และผู้จัดสรรที่ดินจะพ้นจากหน้าที่การบำรุงรักษา
                               สาธารณูปโภคที่ได้จัดให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรที่ดินตามแผนผังและโครงการที่ได้รับอนุญาต เมื่อได้จดทะเบียนโอนทรัพย์สิน และส่งมอบจำนวนเงิน
                               ค่าบำรุงรักษาฯ ตามบัญชีทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรแล้ว
                          (2) ให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรทุกราย (ผู้ที่เห็นชอบและไม่เห็นชอบให้จัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร)เป็นสมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร กรณีที่ดินจัดสรรแปลงย่อย
                               ที่ยังไม่มีผู้ใดซื้อ หรือได้โอนกลับมาเป็นของผู้จัดสรรที่ดิน ให้ผู้จัดสรรที่ดินเป็นสมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร

           6.3 เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับคำขอจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรแล้ว ให้พิจารณาความถูกต้องครบถ้วนตามกฎหมายของคำขอและเอกสารหลักฐาน
                สำเนาข้อบังคับ วัตถุประสงค์ของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร หากเห็นว่า คำขอจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ให้สั่งไม่รับจดทะเบียนจัดตั้ง
                นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร หรือแจ้งให้ผู้ขอแก้ไขเพิ่มเติมให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนดซึ่งต้องไม่น้อยกว่าสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง เมื่อผู้ขอได้
                แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว จึงพิจารณาดำเนินการตามข้อต่อไป ดังนี้
                 6.3.1 ปิดประกาศคำขอไว้ในที่เปิดเผย ณ สำนักงานที่ดิน สำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอ ที่ทำการแขวงหรือที่ทำการกำนัน ที่ทำการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                         ซึ่งที่ดินที่ทำการจัดสรรที่ดินนั้นตั้งอยู่และบริเวณที่ทำการจัดสรรแห่งละหนึ่งฉบับ มีกำหนดสามสิบวัน
                 6.3.2 เมื่อครบกำหนดระยะเวลาและไม่มีผู้คัดค้าน ให้เจ้าพนักงานที่ดินสั่งรับจดทะเบียนนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร กรณีมีผู้คัดค้ายภานในกำหนดเวลา โดยอ้างเหตุว่า
                         การขอจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรมิได้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการที่กฎหมายกำหนด ให้เจ้าพนักงานที่ดินตรวจสอบข้อเท็จจริงและสรุปเรื่องให้คณะกรรมการ
                         พิจารณาโดยเร็ว เมื่อคณะกรรมการพิจารณาเห็นเป็นประการใด ให้แจ้งผู้คัดค้านและเจ้าพนักงานที่ดินทราบภายในสิบห้าวัน หากพิจารณาแล้วเห็นว่า การคัดค้านดังกล่าว
                         เป็นเหตุให้การจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลฯ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้เจ้าพนักงานที่ดินสั่งยกเลิกคำขอจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรนั้น หากพิจารณาแล้วเห็นว่า
                         การคัดค้านนั้นไม่เป็นเหตุทำให้การจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้เจ้าพนักงานที่ดินสั่งรับจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร

           6.4 ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรที่มีความประสงค์จะตั้งนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น เมื่อได้รับแจ้งจากผู้จัดสรรที่ดินให้จัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร หรือนิติบุคคลตามกฎหมายอื่น เพื่อรับโอน
                ทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ในบัญชีทรัพย์สินไปจัดการดูแลและบำรุงรักษา จะต้องดำเนินการดังนี้
                 6.4.1 จัดตั้งนิติบุคคลตามกฎหมายอื่นตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องและต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อรับโอนทรัพย์สินที่เป็นสาธารณูปโภค
                         ไปจัดการดูแลและบำรุงรักษา ทั้งนี้ นิติบุคคลตามกฎหมายอื่นนั้นจะต้องมีสมาชิก ผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นหุ้นส่วนเป็นผู้ซื้อที่ดินจัดสรรเท่านั้น
                 6.4.2 เมื่อสามารถจัดตั้งนิติบุคคลตามกฎหมายอื่นแล้ว ให้นิติบุคคลดังกล่าวดำเนินการให้มีสมาชิกดผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนแปลงย่อย
                         ที่จัดจำหน่ายตามแผนผังโครงการ
                 6.4.3 แจ้งให้ผู้จัดสรรที่ดินทราบพร้อมกำหนดวันจดทะเบียนโอนทรัพย์สินและส่งมอบเงินค่าบำรุงรักษาสาธารณูปโภคที่ผู้จัดสรรที่ดินต้องรับผิดชอบตามบัญชีทรัพย์สินฯ
                         ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวทั้งหมดต้องให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่ผู้จัดสรรที่ดินกำหนดในหนังสือแจ้ง
                 6.4.4 ผู้จัดสรรที่ดินจะพ้นจากหน้าที่บำรุงรักษาสาธารณูปโภคที่ได้จัดให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรที่ดินตามแผนผังและโครงการที่ได้รับอนุญาต เมื่อได้จดทะเบียนโอนทรัพย์สินและส่งมอบ
                          เงินค่าบำรุงรักษาสาธารณูปโภคที่ผู้จัดสรรที่ดินต้องรับผิดชอบตามบัญชีทรัพย์สินให้แก่นิติบุคคลตามกฎหมายอื่นแล้ว

           6.5 การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
                  6.5.1 การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับการโอนทรัพย์สินที่เป็นสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะให้แก่นิติบุคคลตามมาตรา 44 (1) ให้ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียม
                          และภาษีอากร
                  6.5.2 เงินที่นิติบุคคลตามมาตรา 44 (1) ได้รับจากผู้จัดสรรที่ดินหรือผู้ซื้อที่ดินจัดสรรเพื่อนำไปใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภค ให้ได้รับยกเว้นภาษีอากร

7."ขั้นตอนการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรของโครงการจัดสรรที่ดินที่ได้รับอนุญาตตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 (พ.ศ.2515)" มีขั้นตอนและเงื่อนไข ดังนี้

           7.1 กรณีผู้จัดสรรที่ดินที่มีความประสงค์จะพ้นจากหน้าที่ในการบำรุงรักษาสาธารณูปโภค ใช้หลักการเดียวกันกับการดำเนินการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรของโครงการจัดสรรที่ดิน
                ที่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 ทุกประการ ยกเว้น จำนวนเงินค่าบำรุงรักษาสาธารณูปโภคส่วนหนึ่ง เนื่องจากการจัดสรรที่ดินตามประกาศของ
                คณะปฏิวัติดังกล่าวมิได้กำหนดให้ผู้จัดสรรที่ดินจัดทำสัญญาค้ำประกันการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคไว้
           7.2 กรณีผู้จัดสรรที่ดินไม่บำรุงรักษาสาธารณูปโภค ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรสามารถยื่นคำขอจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรได้เอง โดยดำเนินการ ดังนี้
                  7.2.1 ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรจำนวนไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนแปลงย่อยตามแผนผังโครงการยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานที่ดินแห่งท้องที่ซึ่งที่ดินที่ทำการจัดสรรตั้งอยู่
                  7.2.2 หลักฐานที่ใช้ประกอบการยื่นคำขอได้แก่
                          (1) รายงานการประชุมของผู้ซื้อที่ดินจัดสรรจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนแปลงย่อยที่มีมติให้จัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร เห็นชอบข้อบังคับและแต่งตั้งตัวแทนในการ
                               ยื่นคำขอจดทะเบียน
                          (2) สำเนาข้อบังคับ
                          (3) บัญชีที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภค, สำเนาหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน
                  7.2.3 การพิจารณาจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินได้รับคำขอและเอกสารหลักฐาน สำเนาข้อบังคับแล้ว ให้ปิดประกาศคำขอ 30 วันและแจ้งเป็นหนังสือ
                          ให้ผู้จัดสรรที่ดินทราบ กรณีผู้จัดสรรที่ดินคัดค้านการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ให้เจ้าพนักงานที่ดินส่งเรื่องให้คณะกรรมการจัดสรรที่ดินพิจารณา ถ้าคณะกรรมการฯ
                          เห็นว่า ผู้จัดสรรที่ดินไม่บำรุงรักษาจริง ต้องให้ผู้จัดสรรที่ดินทำสัญญาค้ำประกันการบำรุงรักษาสาธารณูปโภค แต่ถ้าคณะกรรมการฯ เห็นว่า ผู้จัดสรรที่ดินยังบำรุงรักษา
                          สาธารณูปโภคอยู่ ให้ยกเลิกการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ถ้าผู้จัดสรรที่ดินไม่คัดค้านหรือไม่ทำสัญญาค้ำประกันการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคตามที่
                          คณะกรรมการฯสั่ง ให้จดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรได้

8."ผลของการจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร"

           8.1 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้จัดสรรที่ดิน ผู้ซื้อที่ดินจัดสรร และนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
                  8.1.1 ผู้จัดสรรที่ดินพ้นจากหน้าที่ในการบำรุงรักษาที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภค โดยต้องมีการโอนทรัพย์สินและส่งมอบเงินบำรุงรักษาสาธารณูปโภคที่ผู้จัดสรรต้องรับผิดชอบแล้ว
                  8.1.2 ผู้ซื้อที่ดินจัดสรร ทั้งในส่วนที่ลงคะแนนเสียงเห็นชอบและไม่เห็นชอบให้จัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร เป็นสมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
                  8.1.3 นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรมีฐานะเป็นนิติบุคคล มีคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรรเป็นผู้ดำเนินกิจการของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรตามกฎหมาย ตามข้อบังคับ โดยอยู่ภายใต้การ
                          ควบคุมดูแลของที่ประชุมใหญ่สมาชิก
                  8.1.4 คณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรรเป็นผู้แทนของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก
           8.2 สิทธิพิเศษเกี่ยวกับค่าธรรมเนียม ภาษีและอากรแสตมป์
                  8.2.1 ค่าใช้จ่ายในการรับโอนที่ดินอันเป็นสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะ ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียม ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีธุรกิจเฉพาะ อากรแสตมป์
                  8.2.2 กรณีเงินที่นิติบุคคลได้รับจากสมาชิกเพื่อนำไปใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและจัดการสาธารณูปโภค ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม อากร
           8.3 อำนาจหน้าที่ของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
                  8.3.1 จัดการและดูแลบำรุงรักษาทรัพย์สินที่ได้รับโอนจากผู้จัดสรรที่ดิน
                  8.3.2 กำหนดระเบียบการใช้ประโยชน์สาธารณูปโภค การอยู่อาศัยและการจราจรภายในที่ดินจัดสรร
                  8.3.3 เรียกเก็บเงินค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภคในส่วนที่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรมีหน้าที่บำรุงรักษาจากสมาชิก
                  8.3.4 ยื่นคำร้องทุกข์หรือเป็นโจทก์ฟ้องแทนสมาชิกเกี่ยวกับกรณีที่กระทบสิทธิหรือประโยชน์ของสมาชิกจำนวนตั้งแต่ 10 รายขึ้นไป
                  8.3.5 จัดให้มีบริการสาธารณะเพื่อสวัสดิการของสมาชิก หรือจัดสรรเงินหรือทรัพย์สินเพื่อสาธารณะประโยชน์
                  8.3.6 ดำเนินการอื่นให้เป็นไปตามกฎกระทรวง ระเบียบของคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลางหรือข้อบังคับของคณะกรรมการที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน
                          พ.ศ.2543
                          ทั้งนี้ การดำเนินการตาม 8.3.2 และ 8.3.5 จะต้องได้รับความเห็นชอบจากมติที่ประชุมใหญ่ของสมาชิก
           8.4 สิทธิและหน้าที่ของสมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
                  8.4.1 ชำระค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการจัดการสาธารณูปโภค ทั้งนี้ การกำหนดอัตราค่าใช้จ่ายต้องได้รับความเห็นชอบจากมติที่ประชุมใหญ่ โดยอาจกำหนดค่าใช้จ่าย
                          ให้แตกต่างกันตามประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินหรือขนาดพื้นที่ก็ได้
                  8.4.2 นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรมีหน้าที่จัดเก็บ โดยให้จัดเก็บเป็นรายเดือน
                  8.4.3 สิทธิและหน้าที่ของสมาชิกนิติบุคคลอื่นตามที่กำหนดในข้อบังคับ
           8.5 บทกำหนดโทษสำหรับสมาชิกที่ชำระเงินล่าช้า
                  8.5.1 กรณีชำระค่าใช้จ่ายล่าช้ารายเดือน ต้องจ่ายค่าปรับตามอัตราที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดกำหนด
                  8.5.2 กรณีชำระค่าใช้จ่ายล่าช้าติดต่อกัน 3 เดือน อาจถูกระงับการให้บริการหรือการใช้สิทธิในสาธารณูปโภค
                  8.5.3 กรณีชำระค่าใช้จ่ายล่าช้าติดต่อกัน 6 เดือน พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่ดินแปลงดังกล่าวได้ จนกว่าจะชำระครบถ้วน
                  8.5.4 ให้ถือว่าหนี้ที่ค้างชำระเป็นหนี้บุริมสิทธิในมูลรักษาอสังหาริมทรัพย์

9."ค่าใช้จ่ายที่สมาชิกของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรหรือผู้ซื้อที่ดินจัดสรรจะต้องจ่ายหรือชำระ" มี 2 ประเภท ดังนี้
           9.1 ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและจัดการสาธารณูปโภค
           9.2 ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาบริการสาธารณะ เช่นค่าจ้างยามรักษาความปลอดภัยในหมู่บ้าน ค่าใช้จ่ายในการจ้างคนเก็บขยะ ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้คณะกรรมการนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรจัดเก็บได้ตามอัตราที่คณะกรรมการจัดสรรที่ดินกรุงเทพมหานครหรือจังหวัดให้ความเห็นชอบ

Source: www.dol.go.th

Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.