สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 83 คน
 สถิติเมื่อวาน 65 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
4767 คน
26483 คน
2738011 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


ประกันอัคคีภัยที่นิติบุคคลให้เจ้าของร่วมจ่ายเป็นรายปี
ในการทำประกันอัคคีภัย ที่นิติบุคคลแจ้งให้เจ้าของร่วมจ่ายเป็นรายปี อยากทราบว่า
1. ชื่อผู้รับผลประโยชน์ ควรเป็นเจ้าของร่วมใช่หรือไม่ และต้องระบุชื่อเจ้าของร่วมแต่ละห้องชุดลงในกรมธรรม์ด้วยหรือไม่ หรือ ระบุเพียงแต่คำว่า เจ้าของร่วมอาคารชุดเอ ก็ไใช้ได้แล้ว

2. กรณี ถ้าชื่อผู้รับผลประโยชน์ ไม่ใช่ เจ้าของร่วม แต่ระบุเป็น ชื่อธนาคารหนึ่ง ทีเจ้าของโครงการ หรือ ผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคารชุด ตามมาตรา 6 มีภาระติดพันอยู่ คือโครงการยังเหลืออีกเป็นสิบห้องค่ะ ยังขายไม่หมด อาจเป็นไปได้ว่า เจ้าของโครงการเรยต้องทำประกันอัคคีภัยไว้เพื่อเป็นหลักประกันสำหรับธนาคาร จึงใส่ชื่อผู้รับผลประโยชน์เป็น ธนาคารแทน แต่ให้เจ้าของร่วมช่วยจ่ายค่าประกันแทน ถ้าชื่อผู้รับผลประโยชน์ในกรมธรรม์ ไม่ใช่เจ้าของร่วม เจ้าของร่วมมีสิทธิ์ ไม่ต้องจ่ายค่าประกันอัคคีภัยของกรมธรรม์นั้นได้หรือไม่ ถ้าไม่จ่ายมีความผิดหรือมีโทษหรือไม่

3. ผจก.นิติบุคคล และ นิติบุคคล ก็คือเจ้าของโครงการเอง ถือว่ามีความผิดหรือไม่ที่ให้เจ้าของร่วมจ่ายค่าประกันไปหลายปี แต่ยกผลประโยชน์ให้ธนาคาร ถ้ามีความผิดมีโทษอย่างไรและร้องเรียนที่ใด เรียกข้อหาฉ้อโกงหรือไม่ เจ้าของร่วมมีสิทธิ์เรียกร้องเงินประกันอัคคีภัยที่ได้จ่ายเป็นรายปีไปแล้วหลายปี คืนหรือไม่

4. ถ้า กรมธรรม์ มีระบุว่า เป็นที่ทราบชัดและตกลงยินยอมด้วยกันทั้งสองฝ่ายว่า ผลประโยชนืใดๆ อันพึงได้จากกรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้ ในระหว่างกำหนดอายุสัญญา ผู้เอาประกันภัย (คือ ชื่อบริษัทที่เป็นนิติบุคคลอาคารชุดของคอนโดนี้) ตกลงยินยอมโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ ธนาคาร.....
ตามภาระผูกพัน อยากทราบว่า คำว่าเป็นที่ทราบชัดหมายถึงใครทราบคะ เค้าหมายถึง ผู้เอาประกันภัย (บ.นิติบุคคล) กับ บริษัทประกันภัยที่ออกเอกสารกรมธรรม์นี้ หรือ รวมถึงเจ้าของร่วมด้วย (แต่ในกรมธรรม์ไม่มีระบุคำว่า เจ้าของร่วม อยู่เรย) นิติบุคคลทำกรมธรรม์นี้ มีระบุข้อความแบบนี้ แต่ให้เจ้าของร่วมจ่าย มีความผิดหรือไม่คะ ถือเป็นข้อหาใด ร้องเรียนที่ใด เจ้าของร่วมไม่จ่ายได้หรือไม่

5. พอดิฉันอ่านเอกสารกรมธรรม์ที่เจ้าหน้าที่ส่งมาให้ทางอีเมลล์ แล้วแย้งกลับไปว่า ทำไมชื่อผู้รับผลประโยชน์ไม่ใช่เจ้าของร่วม แต่เป็นธนาคาร ถ้ามีอัคคีภัยเกิดขึ้น เจ้าของร่วมก็ไม่ได้รับชดเชยค่าเสียหายจากกรมธรรม์สิ ทางเจ้าหน้าที่ก็รีบตอบกลับว่า เป็นการผิดพลาดลืมแก้ไขชื่อผู้รับผลประโยชน์ พอดิฉันขอเอกสารแนบตามที่กรมธรรม์ระบุ ก็ไม่ให้ บอกว่าประกันอัคคีภัยของปีนี้ ดิฉันไม่ต้องจ่าย ไปเริ่มจ่ายปีหน้า อยากทราบว่า เอกสารกรมธรรม์ที่เค้าส่งมาทางอีเมลล์ใช้เป็นหลักฐานเอาผิดได้หรือไม่ ว่านิติบุคคลทำการฉ้อโกง เจ้าของร่วม ถ้าได้ร้องเรียนที่ใด

6. ปีหน้า ถ้านิติฯเรียกเก็บค่าประกันอัคคีภัย แล้วดิฉันขอเอกสาร แล้วเค้าไม่ให้ดู หรือให้ดูไม่ครบ ดิฉันมีสิทธิ์ไม่จ่าย ได้หรือไม่ จะมีความผิดมั๊ย

7. ดิฉันสามารถ ทำประกันอัคคีภัยเฉพาะห้องของดิฉันเองได้หรือไม่ โดยไม่จ่ายค่าประกันภัยเป็นรายปีให้กับนิติบุคคลเพราะดูแล้วไม่โปร่งใส จะมีความผิดมั๊ย

ขอบคุณค่ะ ขอถามละเอียดนิดนึงค่ะ กำลังประสบปัญหาอยู่ค่ะ
โดย Primy Primy (ip1.20.1.152) อี-เมล์ Primy Primy (ip1.20.1.152) เบอร์โทรศัพท์. Primy Primy IP: xxx [ 2013-12-07 ]

คำตอบจาก Webmaster

1. การทำประกันภัยในอาคารชุดจะมี 2 ส่วนด้วยกัน คือ (1.1) เจ้าของห้องชุดทำประกันภัยทรัพย์สินของตนเองที่อยู่ภายในห้องชุด (ทรัพย์ส่วนบุคคล) ซึ่งปกติเวลากู้เงินจากธนาคารมาจ่ายค่าคอนโด ธนาคารผู้ให้กู้มักจะขายประกันภัยประเภทนี้พ่วงเข้ามาด้วย (1.2) ประกันภัยตัวอาคารทั้งอาคาร (ทรัพย์ส่วนกลาง) นิติบุคคลอาคารชุดจะทำประกันภัยตัวอาคาร โดยระบุให้นิติบุคคลอาคารชุดเป็นผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ ซึ่งจะมีข้อบังคับนิติบุคคลอาคารชุดกำหนดรายละเอียดในเรื่องนี้ไว้ แต่ข้อบังคับนิติบุคคลอาคารชุดบางนิติบุคคลก็ไม่มี


2. อาจจะเป็นช่วงรอยต่อระหว่างเจ้าของโครงการกับสถาบันการเงินผู้ให้กู้ ซึ่งเงื่อนไขการกู้มักจะระบุให้สถาบันการเงินเป็นผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ ตามหลักควรทำประกันถึงวันที่จดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุด (วันที่โอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดห้องแรก) เมื่อจดนิติฯ แล้ว นิติบุคคลอาคารชุดจะทำประกันภัยและระบุให้ตนเองเป็นผู้รับประโยชน์ แต่หากทางปฏิบัติไม่ได้ทำหรือทำยาก ก็ควรจะนำเบี้ยประกันภัยมาเฉลี่ยตามระยะเวลาเอาประกันระหว่างเจ้าของโครงการกับนิติบุคคลอาคารชุดว่าฝ่ายไหนควรจ่ายเท่าใด จึงจะเป็นธรรม


3. กรณีดังกล่าวเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง  ส่วนจะผิดทางแพ่งหรือทางอาญานั้นจะต้องดูที่เจตนาและเอกสารหลักฐานประกอบ หน่วยงานที่รับเรื่องร้องเรียนก็เห็นจะมีแต่เพียง สคบ.  แต่ทางที่ดีและดูแลผลประโยชน์ได้เต็มที่ ควรเรียกประชุมวิสามัญและลงมติถอดถอนผู้จัดการและแต่งตั้งผู้จัดการคนใหม่ จ้างสำนักงานบัญชีและทนายความมาร่วมตรวจสอบ และฟ้องศาล


4. เป็นภาษากฎหมายที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ หมายถึงคู่กรณีทั้งสองฝ่าย คือ ผู้เอาประกันและผู้รับประกันภัย นิติบุคคลอาคารชุดทำแบบนี้มีความผิดแน่นอน จะเป็นความผิดทางแพ่งหรือทางอาญาต้องพิจารณาจากเจตนาโดยวิธีการตามข้อ 3. เจ้าของร่วมมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันยภัยตามที่ระบุไว้ในมาตรา 18 แห่งกฎหมายอาคารชุด


5. ได้ ร้องเรียนที่ สคบ. เพราะยังไม่มีหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบเรื่องอาคารชุดโดยเฉพาะ นอกจาก สคบ.


6. เจ้าของร่วมมีหน้าที่ต้องชำระค่าเบี้ยประกันภัยตามที่กฎหมายอาคารชุด (มาตรา 18) กำหนดไว้


7. ตอบแล้วในข้อ 1. ทำประกันภัยเฉพาะห้องของตัวเองได้ แต่ก็มีหน้าที่ที่จะต้องชำระค่าเบี้ยประกันภัยให้กับนิติบุคคลฯ หากเห็นว่า ไม่โปร่งใส  เจ้าของร่วมควรลงมติถอดถอนด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของคะแนนเสียงของเจ้าของร่วมทั้งหมด


 

โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล [ 2013-12-10 ] ตอบ 1034
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.