สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 87 คน
 สถิติเมื่อวาน 65 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
4771 คน
26487 คน
2738015 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


เก็บตกคำถามที่ไม่เคลียร์ก่อนเข้าประชุม
1.ภาระหนี้สินเป็นหนี้ของนิติบุคคลอาคารชุด ไม่ใช่หนี้ส่วนตัวของกรรมการ กรรมการชุดใหม่จะต้องรับภาระหนี้ หรือ ไม่ต้องรับภาระหนี้ของนิติบุคคลอาคารชุดคะ (ครั้งที่แล้วตอบว่ากรรมการใหม่ต้องรับภาระหนี้ ไม่แน่ใจว่าพิมพ์ผิดหรือไม่)
ถ้ากรรมการใหม่ต้องรับภาระหนี้ เมื่อหมดวาระแล้ว ออกจากตำแหน่งก็ไม่ต้องรับผิดชอบหนี้แล้ว ใช่หรือไม่
2. ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดคนใหม่ ไม่ต้องรีบผิดชอบหนี้สินแทนผู้จัดการนิติฯ คนเก่า เพราะเป็นหนี้ของ "นิติบุคคลอาคารชุด" ซึ่งแยกต่างหากจากกรรมการและผู้จัดการ หมายความว่า ผจก.นิติฯคนใหม่ ไม่ต้องรับผิดชอบหนี้นิติบุคคลอาคารชุด ใช่หรือไม่
3. หนี้ของนิติฯ ใครเป็นคนจ่าย หรือต้องเก็บค่าส่วนกลางเพิ่มจากเจ้าของร่วม
4. แล้วถ้าเป็นหนี้ที่เกิดจากการบริหารผิดพลาดของ กรรมการ หรือ ผจก.นิติฯชุดเก่า กรรมการหรือผจก.นิติชุดใหม่สามารถเรียกร้องเงินจาก กรรมการ หรือ ผจก.นิติเก่า หรือไม่ เพื่อมาใส่บัญชีไม่ให้ขาดทุน และ ต้องทำอย่างไรเช่น ฟ้องร้อง (ประชุมครั้งที่แล้วแจ้งว่าขาดทุนอยู่ แต่ไม่เคยซ่อมแซมตึกอะไร )
5. ถ้านิติฯ ไม่ได้ทำงบดุลที่แสดงสินทรัพย์และหนี้สิน บัญชีรายรับรายจ่าย ตามมาตรา38/1 หรือ ไม่ได้เก็บงบดุลไว้ เพื่อเจ้าของร่วมตรวจสอบได้ ตามมาตรา 38/3 มีบทลงโทษตามมาตรา 70 และ 71 เท่านั้นหรือคะ มีโทษปรับรายวันจนกว่าจะส่งให้เจ้าของร่วมดู มั้ยคะ (นิติฯก็แค่จ่ายค่าปรับแล้วก็ไม่ทำก็ได้หรือคะ)
6. ตามมาตรา 38/2 ให้นิติฯทำรายงานประจำปี เสนอต่อที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมพร้อมกับการเสนองบดุล และให้ส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวให้แก่เจ้าของร่วมก่อนวันนัดประชุมใหญ่ล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน
อยากทราบว่า
6.1 ถ้านิติฯไม่ได้ส่ง งบดุลให้เจ้าของร่วมก่อนวันประชุมเลย จะมีโทษปรับตามมาตรา 71 อย่างเดียว หรือมีผลทำให้ การประชุมที่จัดขึ้นเป็นโมฆะหรือไม่ คือไม่นับเป็นการประชุมครั้งแรก เนื่องจากไม่ส่งงบดุลให้เจ้าของร่วมล่วงหน้าก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่า เจ็ดวัน ตามกฏหมาย
6.2 กรณีส่งงบดุล ล่วงหน้าก่อนวันประชุม น้อยกว่า 7 วัน มีโทษตามมาตรา 71 ใช่หรือไม่ การประชุมเป็นโมฆะ ไม่ถือเป็นการประชุมครั้งแรกใช่หรือไม่
6.3 กรณีไม่ส่งงบดุลให้เจ้าของร่วม แต่ให้ในที่ประชุม ในวันประชุมแทน หรือ มีรายละเอียดไม่ครบถ้วน เช่นแสดงแค่ บัญชีรายรับ รายจ่าย ไม่แสดงสินทรัพย์หรือหนี้สิน คือขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ครบตามกฏหมาย การประชุมจะถือเป็นโมฆะ ไม่ถือเป็นการประชุมครั้งแรกใช่หรือไม่
7. การเก็บค่าส่วนกลางต่อ ตารางเมตร ให้คิดจากพื้นที่ห้องที่มีผนังคลุมอย่างเดียว หรือ รวมพื้นที่ระเบียงด้วย (ในโฉนดด้านหน้าเขียนเนื่อที่ 98.58 ตรม.ด้านหลังเขียนทรัพย์ส่วนบุคคลที่อยู่นอกห้องชุด เนื้อที่ระเบียง 19.21 ตรม.)
8. ค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 วรรคหนึ่งมีอะไรบ้างคะ เช่น ค่าภาษีอากร (ภาษีอากรของเบี้ยประกันภัยหรือคะ หรือ ภาษีหัก ณ.ที่จ่าย ภรง3,53 หรือ ภาษีเงินได้พนักงาน ภงด.1 หรือ ประกันสังคมพนักงาน สรุป มีอะไรนอกเหนือจากนี้มั้ยคะ ในเรื่องของภาษีและอากร)
9. เจ้าของร่วม ร่วมกันออกค่าใช้จ่ายตามมาตรา 18 ตาม...หรือ "ตามส่วนแห่งประโยชน์ที่มีต่อห้องชุด" หมายความว่าอะไรคะ ช่วยยกตัวอย่างด้วยค่ะ
10. กรณีการประชุมครั้งแรก เจ้าของร่วมมอบฉันทะให้ นายA กรณีลงมติไม่ได้ เลื่อนการประชุมไปภายใน 15 วัน การประชุมครั้งที่2 นี้ เจ้าของร่วมคนเดิม ออกใบมอบฉันทะใหม่เปลี่ยนผู้รับมอบฉันทะเป็น B ได้หรือไม่
(รบกวนตอบด้วยนะคะ เนื่องจากจะเข้าประชุม บ่าย 4 พ.ย.ค่ะ)
โดย Primy (ip27.55.10.106) อี-เมล์ Primy (ip27.55.10.106) เบอร์โทรศัพท์. Primy IP: xxx [ 2014-10-23 ]

คำตอบจาก Webmaster
7. คิดตามอัตราส่วนกรรมสิทธิ์ที่เจ้าของร่วมแต่ละรายมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลาง ซึ่งจะระบุอยู่ที่ด้านหน้าของโฉนด โดยปกติอัตราส่วนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลางจะคิดรวมเนื้อที่ส่วนที่เป็นห้องชุดทั้งหมดในที่นี่ได้รวมเนื้อที่ระเบียง 19.21 ตารางเมตรไว้ด้วยแล้ว
8. มีตามที่เขียนไว้ในพ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพ.ร.บ.อาคารชุดฉบับที่ 4 (พ.ศ.2551)
9. ตำราของอาจารย์แต่ละท่านที่แต่งตำราขายก็อธิบายไว้ไม่ค่อยจะเป็นแนวทางเดียวกันเท่าไหร่ ผมจึงขอแนะนำให้ศึกษาจากแนวคำพิพากษาของศาลฎีกาจะดีกว่า เพราะหากผมอธิบาย ก็จะเพิ่มเป็นอีกหนึ่งคำอธิบายที่รวมเอาตำราของอาจารย์แต่ละคนมารวมไว้ด้วยกัน และก็จะมีความเห็นของผมเพิ่มเข้ามาอีก จะทำให้ผู้อ่านสับสนเปล่าๆ
10. ได้
โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล [ 2014-11-02 ] ตอบ 1172
1-4 ต้องเรียนว่า นิติบุคคลอาคารชุดเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายอาคารชุด เมื่อมีสถานะภาพทางกฎหมายเป็นนิติบุคคลแล้ว ก็เหมือนกับบริษัทฯ ซึ่งเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อบริษัททำกิจการค้าไปก่อหนี้ก่อสินไว้ หนี้นั้นก็เป็นหนี้ของบริษัทฯ ไม่ใช่หนี้ของกรรมการผู้จัดการ เช่นเดียวกัน เมื่อนิติบุคคลอาคารชุดบริหารอาคารชุดมีหนี้สิน หนี้นั้นก็เป็นหนี้ของนิติบุคคลอาคารชุด ไม่ใช่หนี้ของผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดหรือหนี้ของคณะกรรมการอาคารชุดแต่อย่างใด

หากผู้จัดการหรือคณะกรรการฯ บริหารงานโดยประมาทเลินเล่อหรือไม่สุจริต นิติบุคคลอาคารชุดก็มีสิทธิที่จะฟ้องร้องให้ผู้จัดการนิติฯ หรือคณะกรรมการฯ ชดใช้หนี้สินให้แก่นิติบุคคลอาคารชุดได้

6.1 กฎหมายกำหนดโทษไว้อย่างเดียว กฎหมายไม่ได้บัญญัติว่า หากไม่ได้ส่งสำเนางบดุลให้แก่เจ้าของร่วมล่วงหน้าก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน ให้ถือว่า การประชุมนั้นเป็นโมฆะ ดังนั้น การประชุมจึงไม่เป็นโมฆะ
6.2 กรณีไม่ส่งงบดุลตามมาตรา 38/2 มีโทษตามมาตรา 71 สถานเดียว การประชุมไม่เป็นโมฆะ (ตอบแล้วตามข้อ 6.1)
6.3 (ตอบแล้วตาม 6.1)
โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล [ 2014-10-30 ] ตอบ 1171
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.