สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 3 คน
 สถิติเมื่อวาน 146 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
1364 คน
28155 คน
2739683 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


กรรมการนิติสามารถออกระเบียบเรียกเก็บค่าใช้ลิฟท์ ที่จอดรถโดยไม่ขอมติที่ประชุมหรือไม่
คณะกรรมการนิติฯมีอำนาจจะเรียกเก็บค่าบำรุงรักษาลิฟท์ ค่าที่จอดรถ ค่าใช้สระว่ายนำ้ ค่าใช้ฟิตเนส หรือค่าใช้สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เพิ่มจากการเก็บค่าส่วนกลางรายปีปกติ โดยใช้แค่มติที่ประชุมกรรมการ แล้วแค่แจ้งให้ลูกบ้านทราบในการประชุมลูกบ้าน โดยไม่มีการขอมติที่ประชุมใหญ่นั้นถูกกฎหมายไหม เพราะกรรมการอ้างว่าตามข้อบังคับนิติที่กำหนดว่า (1.)เจ้าของร่วมต้องชำระค่าใช้จ่ายส่วนที่เป็นกองทุนสำรองนิติกรรมสิทธิ์ละ500บาท (2.)เจ้าของร่วมต้องจ่ายค่าส่วนกลางกรรมสิทธิ์ละ40/เดือน (3)เจ้าของร่วมต้องจ่ายค่าประกันมิเตอร์2000บาท (4) เจ้าของร่วมต้องจ่ายค่าภาษีที่ดิน โรงเรือน เบี้ยประกัน และค่าใช้จ่ายใดๆ ตามอัตราค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง โดยเก็บตามอัตราส่วนกรรมสิทธิ์ กรรมการว่าสามารถทำได้เพราะข้อ4 คำว่า"ค่าใช้จ่ายใดๆ" ในข้อบังคับทำให้มีความชอบธรรมที่จะเรียกเก็บค่าใช้ลิฟท์ ที่จอดรถ ฟิตเนส หรืออื่นๆ โดยไม้ต้องขอมติที่ประชุมใหญ่ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ
โดย อารามิส (ip58.137.13.241) อี-เมล์ อารามิส (ip58.137.13.241) เบอร์โทรศัพท์. อารามิส IP: xxx [ 2015-05-23 ]

คำตอบจาก Webmaster
การเรียกเก็บเงินเพิ่มขึ้นจากที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ โดยอาศัยความในข้อบังคับฯ ข้อ 4 คำว่า "ค่าใช้จ่ายใดๆ" นั้น เห็นว่า กรณีดังกล่าว เป็นการเขียนข้อบังคับเผื่อเอาไว้เท่านั้น แต่โดยข้อเท็จจริงถือเป็นการเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนค่าใช้จ่ายร่วมกันในข้อบังคับ คือ เรียกเก็บเพิ่มขึ้นจากที่เรียกเก็บอยู่เดิม ดังนั้น จะต้องนำเรื่องเข้าที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมตามมาตรา 48 (5) โดยจะต้องได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนคะแนนเสียงของเจ้าของร่วมทั้งหมด หรือกรณีเสียงไม่ถึงกึ่งหนึ่ง จะต้องเรียกประชุมใหม่และจะต้องได้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนคะแนนเสียงของเจ้าของร่วมทั้งหมด (ไม่ใช่เจ้าของร่วมที่มาประชุม)
โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล [ 2015-05-23 ] ตอบ 1231
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.