สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 34 คน
 สถิติเมื่อวาน 81 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
509 คน
27300 คน
2738828 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


คณะกรรมการอาคารชุดแต่งตั้งที่ปรึกษา
คณะกรรมการฯ มีอำนาจในการแต่งตั้งบุคคลต่อไปนี้เข้ามาช่วยงานในคณะกรรมการฯ ในฐานะที่ปรึกษาได้หรือไม่
1. เจ้าของร่วม หรือบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับเจ้าของร่วม
2. บุคคลอื่นๆ ที่ไม่ใช่บุคคลในข้อ 1

ข้อบังคับในเรื่อง อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการฯ ไม่ได้เขียนไว้ในเรื่องนี้

กรณีทำไม่ได้ จะมีความผิดหรือไม่ ?
เคยมีฎีกาในเรื่องนี้หรือไม่ ?
โดย ตี๋น้อย IP: xxx [ 2015-11-05 ]

คำตอบจาก Webmaster
ตามกฎหมายอาคารชุดไม่ได้บัญญัติให้คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งบุคคลใดมาช่วยงานในฐานะที่ปรึกษาได้ ไม่ว่าบุคคลคนนั้นจะเป็นใครก็ตาม เว้นแต่
1. ในข้อบังคับนิติบุคคลอาคารชุดที่ที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมให้ความเห็นชอบแล้วได้กำหนดให้คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งที่ปรึกษาได้ คณะกรรมการฯ ก็สามารถทำได้ หรือ
2. ในกรณีที่ไม่มีระบุไว้ในข้อบังคับฯ แต่หากที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมลงมติด้วยคะแนนเสียงข้างมากให้คณะกรรมการฯ มีอำนาจแต่งตั้งที่ปรึกษาได้ คณะกรรมการฯ ก็มีอำนาจที่จะแต่งตั้งได้
เนื่องจากกฎหมายอาคารชุดไม่ได้บัญญัติห้ามไว้เด็ดขาดว่า ห้ามไม่ให้คณะกรรมการฯ แต่งตั้งที่ปรึกษา การแต่งตั้งที่ปรึกษาโดยอาศัยข้อบังคับก็ดีหรือโดยอาศัยมติที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมก็ดี จึงสามารถทำได้

ปัญหาว่า หากการที่คณะกรรมการฯ แต่งตั้งที่ปรึกษาโดยไม่เข้าข้อยกเว้นทั้ง 2 กรณีดังกล่าวจะมีความผิดหรือไม่ นั้น เห็นว่า กฎหมายอาคารชุดในหมวดที่ 8 บทกำหนดโทษไม่ได้บัญญัติไว้ว่า การกระทำดังกล่าวเป็นความผิด การกระทำของคณะกรรมการฯ จึงไม่มีความผิด ทางอาญา แต่หากการแต่งตั้งที่ปรึกษาโดยไม่เข้าข้อยกเว้นทั้ง 2 ข้อข้างต้นจะต้องใช้จ่ายเงินของนิติบุคคลอาคารชุดว่าจ้าง ทำให้เจ้าของร่วมเสียหายเพราะใช้เงินของนิติฯ กรณีก็จะเป็นความรับผิดทางแพ่งฐานจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ซึ่งเจ้าของร่วมมีสิทธิที่จะฟ้องคณะกรรมการฯ จะต้องชดใช้เงินค่าแต่งตั้งที่ปรึกษาคืนให้นิติบุคคลอาคารชุดได้ แต่ศาลจะพิพากษาให้คืนหรือไม่ เป็นอีกเรื่องหนึ่งซึ่งศาลจะต้องพิจารณาว่า เป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อหรือไม่ หรือเป็นการกระทำโดยสุจริตเพราะคณะกรรมการฯ มีอำนาจควบคุมการจัดการนิติบุคคลอาคารชุดอยู่ตามมาตรา 38 (1) อย่างไรก็ดี ยังไม่มีแนวคำพิพากษาศาลฎีกาพิพากษาไว้เป็นบรรทัดฐาน (ตอบในฐานะความเห็นส่วนตัว โดยพิจารณาจากเจตนารมณ์ของกฎหมายอาคารชุด)
โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล [ 2015-11-05 ] ตอบ 1292
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.