สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 38 คน
 สถิติเมื่อวาน 247 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
432 คน
27223 คน
2738751 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


การยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ&ภาษีที่อยู่อาศัย/ที่ดินเปล่า(กฎหมายใหม่บังคับปี60)
1. กรณีต้องการยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะตอนขายห้องชุด โดย ชื่อนายA เป็นชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุด
1.1 นายAต้องย้ายชื่อตนเองเท่านั้นไปอยู่ในทะเบียนบ้านห้องชุดนี้เป็นเวลา 1 ปี หรือ จะให้เพื่อนชื่อนาย B ย้ายชื่อไปอยู่ในทะเบียนบ้านห้องชุดแทน 1 ปี ก็ได้รับการยกเว้นภาษีเหมือนกันใช่หรือไม่
1.2 ไม่ว่าจะนาย A หรือ นาย B ถ้าย้ายชื่อไปอยู่ในทะเบียนบ้านห้องชุดแล้ว จะต้องย้ายไปอยู่ในฐานะเจ้าบ้าน หรือ ผู้อาศัย จึงจะมีผลยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะตามกฎหมาย
1.3 กรณีนาย A หรือ นาย B (ชื่อใครก็ได้ที่มีผลบังคับ ตามคำตอบข้อ1.1)ย้ายชื่อไปอยู่ในทะเบียนบ้านห้องชุดครบ 1 ปีแล้วย้ายชื่อออกหลังจากครบ 1 ปี ซึ่งในขณะที่ย้ายชื่อเข้าไปอยู่ในช่วง 1 ปีนั้น ยังขายห้องชุดไม่ได้ มาขายห้องชุดนั้นอีกที หลังจากที่ได้ย้ายชื่อออกจากทะเบียนบ้านห้องชุดแล้ว อยากทราบว่า -นาย A จะได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะหรือไม่ เพราะเคยย้ายชื่อเข้าไปอยู่ในทะเบียนบ้านห้องชุดครบ 1 ปีแล้ว เพียงแต่ ณ.วันที่ขาย ได้ไปย้ายชื่อออกมาแล้ว และไม่มี
ชื่อใดอยู่ในทะเบียนบ้างห้องชุดแล้ว ณ.วันที่ขายห้องชุด

2. กรณีนาย A ไม่ได้ย้ายชื่อไปอยู่ในทะเบียนบ้านห้องชุดและถือครองยังไม่ถึง 5 ปี
2.1 นายA ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คำนวนตามขั้นบันไดอย่างไร ของราคาประเมินหรือราคาขาย
2.2 ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะกี่% ของราคาประเมินหรือราคาขาย
2.3 ค่าโอนกรรมสิทธิ์์ กี่%ของราคาประเมินหรือราคาขาย
2.4 ค่าธรรมเนียม&ภาษีอื่นมีอะไรบ้าง กี่% ของราคาประเมิน หรือ ราคาขาย

3.ถ้านาย A ขายห้องชุดโดยถือครองไม่ถือ 5 ปี จะต้องเสียภาษีตามที่ตอบในข้อ 2. ถ้าหลังจากขายห้องชุดแล้วนาย A ได้ซื้อที่ดินเปล่า 1 แปลงภายใน 1 ปี นับจากวันที่ขายห้องชุดไป อยากทราบว่า -นาย A สามารถขอคืนภาษีที่เคยจ่ายไปเมื่อครั้งขายห้องชุดได้หรือไม่ ถ้าได้ต้องทำอย่างไร (เคยอ่านเจอว่า ถ้าขายบ้านเก่าแล้วซื้อบ้านใหม่ภายใน 1 ปี จะขอคืนภาษีที่จ่ายไปเมื่อครั้งขายบัานเก่าได้ แต่ไม่ทราบว่าขอคืนภาษีตัวไหนได้)

4. กรณีที่นาย A ยังไม่ได้ขายห้องชุด แล้วไปซื้อที่ดินเปล่า 1 แปลง ถ้าตามกฎหมายภาษีใหม่ที่จะบังคับปี 2560 นี้
4.1 นาย A ไม่ต้องเสียภาษีที่อยู่อาศัยห้องชุดใช่หรือไม่ เพราะเป็นหลังแรก
4.2 นาย A ต้องเสียภาษีที่ดินเปล่า ใช่หรือไม่ เพราะถือว่า ถือกรรมสิทธิ์เป็นแปลงที่ 2 ต้องเสียภาษีกี่% มีการคำนวนตามขั้นบันไดอย่างไร
4.3 แล้วถ้านาย A ซื้อที่ดินเพื่อสร้างบ้าน ต้องเสียภาษีกี่% มีการคำนวนตามขั้นบันไดอย่างไร
4.4 แล้วถ้านาย A ยังไม่ได้ขายห้องชุด แล้วไปซื้อที่ดินไว้ หรือสร้างบ้านบนที่ดินนั้น แล้วเสียภาษีตามกฎหมายใหม่ไปได้ระยะหนึ่งแล้ว หลังจากนั้นนายAขายห้องชุดได้ ก็จะกลายเป็นว่า นาย A มีชื่อเป็นผู้กรรมสิทธิ์เหลืออยู่ที่เดียวคือบ้านพร้อมที่ดินนี้ ไม่มีห้องชุดแล้ว อยากทราบว่า
- นาย A สามารถขอยกเว้นภาษีที่อยู่อาศัยนี้ได้หรือไม่ เนื่องจาก ไม่ใช่แปลงที่ 2 อีกต่อไป เหลือแปลงเดียว ถ้าได้ ต้องดำเนินการอย่างไร
โดย M (ip14.207.219.92) อี-เมล์ M (ip14.207.219.92) เบอร์โทรศัพท์. M IP: xxx [ 2016-07-12 ]

คำตอบจาก Webmaster
1. สิทธิที่จะได้รับการยกเว้นการเสียภาษีธุรกิจเฉพาะจะต้องเป็นกรณีที่ผู้มีชื่อเป็นเจ้าของห้องชุด มีชื่อเป็น "เจ้าบ้าน" ในทะเบียนบ้านเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี จึงจะได้รับยกเว้น

2. การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คิดจากฐานราคาประเมินของทางราชการ หักค่าใช้จ่ายตามปีที่ถืทอครอง ผลลัพทธ์ที่ได้หารด้วยปีที่ถือรอง เป็นรายรับสุทธิต่อปี นำรายรับดังกล่าวไปเข้าเกณฑ์ภาษีเงินยได้บุคคลธรรมดา ได้ผลลัพธ์เท่ารใด คูรด้วยปีที่ถือครอง คือ ภาษีที่ต้องเสีย ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3 ของราคาขาย ในกรณีที่ราคาขายต่ำกว่าราคาประเมินให้ใช้ราคาประเมิน ค่าธรรมเนียมโอนกรรมสิทธิ์ร้อยละ 2 ของราคาประเมิน

3. ไม่ได้ เพราะไม่มีกฎหมายใดอนุญาตให้ทำได้

4. ไว้กฎหมายใหม่ใช้บังคับแล้ว ค่อยนำมาพิจารณา เพราะหากกฎหมายใหม่ออกมา ไม่ใช่แบบร่าง คำตอบก็จะเปลี่ยนไป

โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล [ 2016-07-19 ] ตอบ 1398
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.