สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน กฏหมายที่ดิน,กฏหมายอาคารชุด

       

   สำนักงานวัชรธรรมทนายความและธุรกิจที่ดิน  

สำนักงานวัชรธรรมทนายความฯ ยินดีให้บริการท่านด้วยประสบการณ์ในวิชาชีพ ให้คำปรึกษาทำโครงการบ้านจัดสรร คอนโด ขาย สร้าง โอน ครบวงจร                                                                                                                                                                                                                                                                    
 

   

    





 สถิติวันนี้ 25 คน
 สถิติเมื่อวาน 73 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
573 คน
27364 คน
2738892 คน
เริ่มเมื่อ 2008-11-20


คำกล่าวนำสมุดเยี่ยมชม
คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


สิทธิของสามีภรรยา(จดทะเบียนสมรส) ในการดำเนินการที่กรมที่ดิน
ข้อมูลเบื้องต้นคือ ที่ดินเป็นชื่อสามี แต่ตอนไปขออนุญาติสร้างบ้านภรรยาเป็นคนไปดำเนินการขออนุญาตสร้าง

ปัญหาคือ เมื่อจะไปดำเนินการขอราคาประเมินจากสำนักงานที่ดิน(ดำเนินการขอราคาประเมินจากเมื่อก่อนเป็นที่ดินเปล่าให้เป็นราคาประเมินที่ดินพร้อมที่อยู่อาศัย) โดยสามีได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ภรรยาไปดำเนินการและมีทะเบียนสมรถไปด้วย แต่ทางสำนักงานที่ดินบอกทำไม่ได้ เนื่องจากชื่อเจ้าของที่ดินและชื่อคนขออนุญาตก่อสร้างเป็นคนละคนกันค่ะ รบกวนขอคำแนะนำด้วยคะ

โดย โบว์ (ip27.145.134.63) อี-เมล์ โบว์ (ip27.145.134.63) เบอร์โทรศัพท์. โบว์ IP: xxx [ 2016-12-21 ]

คำตอบจาก Webmaster
เนื่องจากในสารบบของโฉนดแปลงดังกล่าว ไม่ปรากฏว่า มีสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินมาก่อน (ไม่มีเอกสารใบอนุญาตก่อสร้างอาคารบนที่ดินมาก่อน) เจ้าหน้าที่ที่ดินจึงประเมินราคาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้ไม่ได้ ครั้นจะนำใบอนุญาตปลูกสร้างอาคารซึ่งเป็นคนละชื่อกับเจ้าของที่ดินไปใส่ไว้ในสารบบที่ดินแปลงดังกล่าว โดยไม่มีที่มาที่ไปว่า สิ่งปลูกสร้างไปอยู่บนที่ดินได้อย่างไร เพื่อคิดคำนวณราคาประเมินที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเจ้าหน้าที่ก็ไม่สามารถทำได้เช่นเดียวกัน

ดังนั้น กรณีดังกล่าว จึงต้องทำเรื่องโอนกรรมสิทธิ์ในบ้านให้กับสามี ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน เพื่อให้สิ่งปลูกสร้างเข้าไปอยู่ในสารบบที่ดินแปลงดังกล่าว

หากปรากฏว่า ที่ดินที่มีชื่อสามีเป็นเจ้าของ สามีได้ซื้อมาในขณะที่ทำการจดทะเบียนสมรสแล้ว ที่ดินแปลงดังกล่าวย่อมเป็นสินสมรส ดังนั้น จึงควรดำเนินการจดทะเบียนลงชื่อคู่สมรสก่อน เพื่อให้โฉนดที่ดินมีชื่อคู่สมรสปรากฏอยู่ในสารบัญจดทะเบียนด้วย

หลังจากนั้น ภรรยาจึงทำเรื่องโอนกรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้างให้กับสามีครึ่งหนึ่ง เพราะอีกครึ่งหนึ่งภรรยาเป็นเจ้าของอยู่แล้วเนื่องจากมีชื่ออยู่ในโฉนดที่ดิน ก็น่าจะเสียค่าใช้จ่ายในการโอนน้อยกว่าการโอนบ้านทั้งหลังให้กับสามี

การโอนสิ่งปลูกสร้างจะต้องประกาศคำขอก่อน 30 วัน หลังจากประกาศครบ 30 วันแล้วไม่มีบุคคลใดคัดค้าน พนักงานเจ้าหน้าที่จึงจะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้างให้กับสามี

หากทำตามที่ผมได้ให้คำปรึกษาข้างต้น โปรดแจ้งให้ผมทราบในกระทู้นี้ หรือที่อีเมล์ผม watcharaponw@gmail.com ก็ได้นะครับ เพื่อที่ผมจะได้ทราบว่า แนวทางข้างต้นสามารถทำได้ เนื่องจากกรณีดังกล่าวยังไม่มีตัวอย่างมาก่อน แต่ผมพยายามนำระเบียบต่าง ๆ ที่ทางราชการกำหนดไว้มาประกอบกัน เพื่อให้ผู้ถามเสียค่าใช้จ่ายในการโอนน้อยที่สุด แต่ถูกต้องตามกฎหมาย (ขออภัยทีรอนาน เนื่องจากต้องคิดเยอะเหมือนกันครับ เพราะไม่มีในตำราจริง ๆ)
โดยคุณ วัชรพล วัชรตระกูล ส่งเมล์ถึง วัชรพล วัชรตระกูล [ 2016-12-22 ] ตอบ 1451
คำเตือนเกี่ยวกับการใช้สมุดเยี่ยมชม


Copyright (c) 2008 by Vatchara Thamma Land Law Office Company Limited.